๔๐. สักวาเกิดมาในชาตินี้
๔๑. สักวาถ้าจะเอาตัวเรารอด
๔๒. วันเอ๋ยวันเกิด
๔๓. วันเอ๋ยวันตาย
๔๔.โบราณกล่าวคำเตือนใจ สำหรับเวลาป่วยไข้
คุมสติต่างเป็นรั้ว รอบกั้น กันใจ
๐ ดวงฤทัยอย่าทดท้อ ถดถอย
สติมั่นปัญญาคอย ควบรู้
เวทนาอย่าให้ลอย ถอดจิต เชียวนา
ยึดมั่นขันติรู้ สุดสิ้น ลมปราณ
๐ เวทนาปรากฎขึ้น คราวใด
กำหนดรู้ดูใจ จดจ้อง
เขาเกิดดับเป็นไป ตามสภาพ เขานา
ห้ามจิตเลิกคิดข้อง เกี่ยวด้วย ตัณหา
๐ เวทนายั้งหยุดด้วย ปัญญา
เกิดประทับคือวิชชา ชอบแล้ว
ตัดกิเลสและตัณหา หายขาด
นั่นแหละคือดวงแก้ว เก็บไว้ ส่องวิถี
๐ ตัณหาพาจิตให้ เวียนวน
ดุจกระแสสายชล ควั่งคว้าง
นำสู่ปฎิสนธิ์ ภพใหญ่ น้อยนา
เพราะเหตุเวทนาสร้าง ส่งเชื้อ ตัณหา
๐ วัตรปฎิบัติเช่นนี้ คือบุญ
ทั้งช่วยตัดวงหมุน แน่แท้
เพียงเพิ่มสติคุณ ประโยชน์ใหญ่ นักนา
จะชนะมารแพ้ พ่ายสิ้น เสื่อมสูญ
๐
ยาว ยืนอย่างมาก ร้อยปี
วา หนึ่งร่างเรียวรี ทั่วหน้า
หนา แน่่นและคลุกคลี กิเลสท่วม ทับนา
คืบ ย่างสู่ป่าช้า เช่นนี้ ควรถวิล
๐
เวียน วนทนทุกข์เร้า รุมรัน
ว่าย แหวกสงสารอนันต์ เนิ่นช้า
ตาย ถมแผ่นดินพลัน เพียบเพิ่ม พูนแฮ
เกิด เปื่อยเหน็ดเหนี่อยล้า ห่อนรู้ ทำดี
๔๕.
คำปรารภเรื่องการปฎิบัติธรรม
๐ คนโดยมาก ยากแท้ มีแออัด
หลงบัญญัติ ติดสมมุติ ฉุดไม่ไหว
ถอนบัญญัติ ตัดสมมุติ ให้หมดไป
ญาณจะใส เห็นชัด อนัตตา
๐ ทั่วทุกสิ่ง จริงอยุ่ มีคู่แน่
แต่ปรวนแปร ควรนึก หมั่นศึกษา
มืดมีอยู่ คู่สว่าง ต่างเวลาา
สุขมีมา หมดยุค ทุกข์ก็มี
๐ โลกธรรม แปดอย่าง อ้างเป็นหลัก
เหมือนป้ายปัก บอกทาง หว่างวิถี
อย่ามัวเพลิน เดินผิด ติดโลกีย์
จะเสียที ลาภเลิศ เกิดเป็นคน
๐ อันสังขาร มารยา ไร้สาระ
มันปนปะ เกิดดับ อยู่สับสน
เป็นอย่างนี้ มีมา ในสากล
ไม่ใช่ตน หรือตัว อย่ามัวเดา
๐ มีแต่ทุกข์ ปลุกปล้ำ แสนลำบาก
ต้องตรำตราก นอกใน ถูกไฟเผา
หลงยึดถือ ดื้อเห็น ว่าเป็นเรา
ไม่่รู้เท่า ธรรมดา จึงพางง
๐ ธรรมชาติ อาจวรรค์ ปั้นประดิษฐ์
ให้วิจิตร รจนา น่าลุ่มหลง
คอยหลอกลวง ออกห่าง จากทางตรง
อยู่ในวง ไตรวัฎ น่าอัดใจ
๐ ธรรมชาติ ธรรมดา สภาวะ
ต้องรู้จะ แจ้งหมด ปลดสงสัย
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ใคร
เหตุปัจจัย สืบต่อ ก่อให้เป็น
๐ ใช้ปัญญา ผ่าแตก แยกเป็นส่วน
คิดทบทวน ไตร่ตรอง จะมองเห็น
พบความจริง สิ่งเท็จ เด็ดกระเด็น
จะรู้เช่น ชาติสังขาร ล้วนมารยา
๐ นามธรรม ทั้งสี่ มีแต่ชื่อ
จะยุดรื้อ ดำด้น เที่ยวค้นหา
คงไม่พบ แน่ชัด ซึ่งอัตตา
นามทั้งสี่ มีสา ระเมื่อไร
๐ รูปธรรม น้ันมี ยี่สิบแปด
มันติดแฝด กับนาม ตามวิสัย
น้ันก็ไม่ ใช่เรา จงเข้าใจ
คือน้ำไฟ ดินลม ประสมกัน
๐ เมื่อธาตุแตก แยกย้าย ทำลายหมด
โลกสมมุติ เรียกว่า ถึงอาสัญ
แท้ก็ไม่ ใช่ใคร วายชีวัน
ความจริงน้ัน รูปดับ ไปกับนาม
๐ จงทำใจ ให้ว่าง อย่างอากาศ
ใสสะอาด แจ้งจบ ภพทั้งสาม
ว่าเหมือนไฟ ไหม้ลุก ทั้งคุกคาม
จนเกิดความ เบื่อหน่าย คลายยินดี
๐ จะไปเกิด เป็นอะไร เหมือนไฟลุก
ชาติคือทุกข์ ตัวร้าย ควรหน่ายหนี
เกิดเป็นเหตุ นำทุกข์ มาคลุกคลี
เกิดไม่มี ทุกข์ดับ ระงับไป
๐ คิดครวญใคร่ ใจตั้ง หวังวิมุติ
ต้องรีบรุด ก้าวหน้า อย่าไถล
ปล่อยรูปนาม ตามบท หมดอาลัย
จะพ้นภัย ความเกิด ประเสริฐเอย ฯ
๔๖. กบอยู่ในสระไม่ปะเกสร
๐ คนโมหะเป็นพืชย่อมมึดมิด
อยู่ใกล้ชิดนักปราชญ์ยังขาดศีล
ดั่งกบใกล้ปทุมาเป็นอาจิณ
ไม่ได้กินยอดอ่อนเกษรบัว ฯ
๔๗. แมลงภู่อยู่ไกลได้เกสร
๐ แมลงภู่อยู่ไกลพอได้กลิ่น
รีบรุดบินเคล้าคลึงจนถึงหัว
เหมือนผู้มีปรีชาย่อมพาตัว
ไปเกลือกกลั้วเมธาหารรสธรรม ฯ
๔๘. ยื่นแก้วให้วานร
๐ จะกล่าวธรรมวาทีอันมีค่า
ต้องคิดหน้าดูหลังจึงสั่งสอน
ไปสอนไพร่่ใบ้บ้าให้อาทร
ดั่งวานรหรือจะปองทองมณี ฯ
๔๙. มีเงินนับว่าน้อง มีทองนับว่าพี่
ไม่มีเงินไม่มีทองพี่น้องไม่มี
๐ เรามีเงินเขานับรับเป็นน้อง
เรามีทองเขานับรับเป็นพี่
หมดเงินทองมองใครมไม่ใยดี
ทั้งน้องพึ่พลอยหมดหายหดไป ฯ
๕๐. อย่าวางใจคน
๐ คนเดี๋ยวนี้มีมากหลายหลากล้ำ
บ้างใจต่ำเตี้ยแท้สูงแต่หัว
ทำอุบายหลายชั้นเข้าพันพัว
จงเกลียดกลัวอย่าได้วางใจกัน
๕๑. อยู่ร่วมคนชั่ว คือตัวทุกข์
๐ อยู่ปะปนคนพาลสันดานหยิ่ง
ไม่รู้สิ่งหนักเบาเจ้าโทโส
มีเคหาอาศัยถึงใหญ่โต
อะพิโธ่คับแคบแทบจะครือ
๕๒. อยู่ร่วมคนดีย่อมมีสุข
๐ อยู่ร่วมกับบัณฑิตสนิทสนม
มีอารมณ์วาจาน่านับถือ
อยู่กระท่อมลอมฟางพอกางมือ
นั่นก็คือเป็นสถานวิมานแมน
๕๓. ต้องการน้ำมันไปคั้นเอาแกลบ
๐ อยากมีเงินมีทองได้ครองบ้าน
แต่เกียจคร้านท้อใจไม่ขยัน
ไปขอลาภกราบไหว้ไทเทวัญ
หาน้ำมันในแกลบก็แบบเดียว ฯ
๕๔.พายเรือในอ่าง
๐ คนอาภัพดับจิตคิดไม่โปร่ง
ไม่ลุโล่งแจ้งชัดเพราะขัดสน
เฝ้าเวียนนึกตรึกตราเข้าตาจน
เหมือนเรือวนในอ่างหมดทางจร ฯ
๕๕. ถ่มน้ำลายรดฟ้า
๐ ถ่มน้ำลายหมายพ่นขึ้นบนฟ้า
กลับถูกหน้าตัวได้ไม่ถลำ
เช่นคนพาลหาญใจใช้ถ้อยคำ
กล่าวทิ่มตำท่านที่ผู้มีคุุณ
๕๖. วิ่งนักมักล้ม
๐ วิ่งประจบรบเร้าให้เขาช่วย
อยากร่ำรวยนับอนันต์เพราะตัณหา
ยอมเสียเงินเสียทองของบรรณา
คร้ันพลาดท่าวิ่งซมต้องล้มลง ฯ
๕๗ ฉันเป็นเหมือนต้นโสน
ใหญ่โตอยู่ในหมู่ต้นหญ้า
๕๘. ฉันเป็นเหล็กขุดได้ในทุุ่งนาตำบลดอนยายหอม
ไม่ใช่เหล็กวิลาศมาแต่ไหน แต่หมั่นใช้ หมั่นลับ
หมั่นเก็บรักษาไว้ มิให้ขึ้นสนิม
๕๙. เป็นกุศลหนหลังสั่งสมไว้
มีเชาวน์ฺไว แหลมคมสมศักดิ์ศรี
เหมือนไม้หนามตามพันธ์ุของมันมี
ไม่ต้องที่เซี่ยมแซมมันแหลมเอง ฯ
๖๐. มีวิชาถ้าไม่ใช้คงไม่เชี่ยว
มีเฉลียวจึงอาจฉลาดได้
ถึงสิบรู้ไม่สู้ที่เจนใจ
เก็บรู้ไว้ขัดลิ่มสนิมกิน
๖๑. คราวบุญมาชะตาช่วยร่ำรวยคล่อง
ทั้งเงินทองไหลหลั่งนับตั้งแสน
เก็บไว้หนุนทุนรอนไม่คลอนแคลน
ยามคับแค้นมีจ่ายได้คลายเบา
๖๒. คนรูปสวยรวยทรัพย์ แต่จิตใจต่ำ
เหมือนดอกไม้ไร้กลิ่น สู้ดอกมะลิสีขาวไม่ได้
๖๓. คนเราจะอยู่ในโลกนี้ไม่เกิน ๑๐๐ ปี
อย่าประมาทว่ายังหนุ่มสาวเรายังไม่ตาย
ความจริงเราเกิดมาก็ตายแล้ว
เพราะเวลากินอายุของเรา
อายุของเราหมดไปตามกาลเวลา
๖๔. คนเราเกิดมาถ้าไม่ได้สร้างคุณงามความดีไว้
แต่ขาติเกิดของเรา ก็เท่ากับเกิดมาเพื่อตายอย่างเดียว
ตายแล้วก็สูญลับทับถมแผ่นดินไป
๖๕. คนเราเกิดมาสร้างคุณความดีไว้
แม้จะตายไปแล้ว ผลงานคุณงามความดีชื่อเสียง
เกียรติยศก็ยังอยู่ ก็เท่ากับตายเพื่ออยู่ มันต่างกับเกิดเพื่อตาย
.
๖๖. ชาติคือคนที่เกิดได้และตายได้
ไม่ว่าจะเป็นคนชาติผิวขาวผิวเหลืองอะไรก็ตาม
ต้องเกิดต้องตาย ต้องเจ็บป่วยเหมือนกัน
เป็นชาติเดียวกันทั้งนั้น
๖๗. ใครชี้เกียจเป็นแมลงวัน
ใครขยันเป็นแมลงผึ้ง
๖๘. ทำดีน้ันทำง่าย
ทำชั่วน้ันทำยาก
๖๙. ผู้ใหญ่เป็นคนที่เขาเคารพนับถือ
ต้องวางตัวให้เหมาะสม
ต้องรู้จักปกครองคน
ต้องรู้จักให้ความเป็นธรรมแก่คน
ต้องรู้จักปิดปาก ต้องรู้จักปิดตา ต้องรู้จักปิดหู
มิฉนั้นจะเป็นคนหูเบา เจ้าอารมณ์ โลเล
ถ้าให้คนอย่างนี้เป็นนาย
ก็เท่ากับมีนายเป็นลิง
๗๐. คนโง่ก็เหมือนปลาที่หลงเหยื่อ
๗๑. เวทย์มนต์คาถาไม่มีคุณมีโทษในตัวของมันเอง
อยู่ที่ใจคน รู้จักใช้ก็ได้คุณได้ประโยชน์
ไม่รู้จักใช้ก็เกิดโทษ
ไม่่ใช้ก็ไม่ได้คุณไม่เกิดโทษ
๗๒. จุดหมายปลายทางของชีวิต คือพระนิพพานอันอมตะ หมดทุกข์ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
อ่านแล้วก็คงจะเห็นได้ชัดเจนว่า หลวงพ่อเป็นทั้งนักพูดโดยปฎิภาณแตกฉานในภาษา เป็นนักคิด
นักเขียน นักประพันธ์ นักกวีชั้นเลิศ ถ้อยคำภาษาสละสลวยกระชับแน่น มองเห็นภาพพจน์ ถ้อยคำก็มีสาระ มีแก่นสาร มีถ้อยคำอันลึกซึ้ง หลวงพ่อแตกฉานในธรรมะ ใครอ่านแล้วคงจะไม่สงสัยเลยว่า หลวงพ่่อเป็นพระอริยสงฆ์หรือไม่ ถ้าหากว่าเอาการละสังโยชน์ ๑๐ มาจับกับคุณธรรมของหลวงพ่อ เป็นเครื่องวัดคุณสมบัติของพระอริยสงฆ์ดู ก็จะเห็นได้ว่าหลวงพ่อก็จะเห็นได้ว่าหลวงพ่อเป็นพระอริยสงฆ์ องค์หนึ่ง
(โปรดติดตามตอนต่อไป)