วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ตอนที่ พระธรรมเทศนา พระราชธรรมาภรณ์ (๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๔)


พระธรรมเทศนา 

พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) 

เผยแพร่จังหวัดนครปฐม 
วัดดอนยายหอม  อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
แสดง ณ สถานีวิทยุ  วปถ. กรมการทหารสื่อสาร
วันอาทิตย์ที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๔

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
ปริตฺตํ ทรุมารุยฺห ยถา สีเท มหณฺณเว
เอวํ กุสีตมาคมฺม สาธุชีวิปิ สีทตีติ ฯ

     บัดนี้  จักแสดงธรรมคำสั่งสอนในพุทธศาสนา  ในวาระดิถึออกจากปีเก่าเข้าปีใหม่  เป็นการศึกษาสำหรับพุทธบริษัทให้เกิดผล  คือความรู้ความเข้าใจในสัมมาปฎิบัติแล้วยึดเป็นหลักฝึกหัด อบรมบ่มนิสัยของตนให้พ้นจากความช่ัวร้ายให้หายไปพร้อมกับออกจากปีเก่า  แล้วประพฤติตนให้เป็นคนดีงาม  ให้เกิดมีขึ้นพร้อมกับเข้าปีใหม่  จะแก้ไขส่วนที่เลวทรามชั่วร้ายจนกลับกลายเป็นดี แม้ที่ดีแยู่แล้วก็เพิ่มเติมส่งเสริมให้เป้นคนดีงดงาม
     แต่คำว่า  คนดีงาม ในที่นี้มิได้หมายความว่าคนสวย  เพราะว่าคนสวยอาจไม่ดีไม่งามเสี่ยเลยก็ได้  ธรรมดาคนจะดีจะงามได้ต้องอาศัยตกแต่งกายกับใจ โดยประพฤติดีปฎิบัติชอบ  คือแต่งกายถูกระบอบแหงศึล มีจรรยา จึงสง่างามด้วยมารยาท และแต่งใตจให้สะอาดมีธรรม  จึงดีงามด้วยอัธยาศัย  ถ้าขาดการตกแต่งเช่นนี้แล้วไซร้  ก็หาดีงามอะไรไม่ได้   ถึงจะประดับร่างกายให้สะสวยด้วยอาภรณ์ มีแพรผ้าเครื่องเพชรพลอย  ทองคำ เป็นต้น  สักเท่าไรๆ ก็คงไม่เปลี่ยนสภาพให้กลายเป็นดี  เพราะอาภรณ์ที่ประดับนั้นเป็นแต่เพียง เครื่องล่อพอให้สวย  ซึ่งอาจงามจับตา  แต่ไม่ถึงกับจับใจ  เหมือนทองเก๊ที่เขาชุบหรือกาไหล ย่อมดูสุกใส  แต่เพียงข้างนอก  ถึงจะสวยเลิศลอยก็ต้องลอกและภายในยังเก๊อยู่  ไม่เปลีียนแปลง  ฉน้ัน การตกแต่งอย่างนี้จึงยังใช้ไม่ได้  ที่จริงคนที่ไร้มารยาทแม้รูปร่างจะสวยสะอาดอย่างไรก็ตาม  เขาต้องตำหนิว่าคนไม่มีสกุล  ถ้ายิ่งขาดคุณธรรมภายใน คืออัธยาศัยเลวทรามด้วยแล้วก็ยิ่งหมดราคา  เพราะจะค้นหาค่าของคนไม่ได้ที่ตรงไหน  ต้องุถูกติว่า่เป็นคนชนิดที่เป็นเพียงสักว่า  หรืออย่างที่ท่านเรียกไว้ในพระบาลีว่า   "มนุสฺสเผคุคุ  คนกะพี้"    เพราะไม่มีแก่นคือความดีที่ปรารถนาจะใช้การที่สลักสำคัญอะรไม่ได้เหมือนกับไม้กะพี้  และเข้าในจำพวกที่ว่า  "ปริสกสโต"   คนกากในบริษัท  เพราะคนชนิดนี้มีอยู่ในหมู่ใด คณะใด  หรือ ในประเทศใด  ชาติใด  ตลอดถึงในโลกก็รังแต่จะรกหมู่ รกคณะ  รกประเทศน้ัน ๆ   ที่สุดก็รกโลกนั่นเอง  เป็นเศษคนที่เขาทิ้งแล้วเหมือนเศษกระดาษ กากอาหาร ฉนั้น   
     
     เหตุนี้แหละคนที่จะดีงามจึงอาศัยความประพฤติปฎิบัติตน  ตกแต่งให้ดีทั้งมารยาทและอัธยาศัย  แม้คติของไทยเราก็มีอยู่ว่า    "ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง"  นี้หมายถึงการแต่งกายแต่งใจอย่างเดียวกัน  ส่วนเครื่องอาภรณ์จะประดับด้วยหรือไม่่นั้น  ย่อมไม่่ประมาณ เมื่อประพฤติดีปฎิบัติชอบสม่ำเสมอโดยเหตุโดยการณ์แล้ว  ก็ย่อมจะดีงามได้เอง  เพราะมีดีประดับอยู่ทั่วกายทั่วใจ  โดยไม่บกพร่องเหมือนทองคำชมพูนุช  ซึ่งสวยสดทั้งแท่ง  แม้ชำแหละออกเท่าไร ก็ไม่แสดงว่าหมด่ดี  เพราะมีดีอยู่ทั้งหมด  ยิ่งกว่าน้้น คนที่งดงามอย่างนี้ใช่ว่าจะดีงามเฉพาะตนคนเดียวก็หาไม่  ยังทำให้หมู่คณะประเทศชาติที่ตนสังกัดอาศัย  ได้งดงามด้วยเกียรติยศชื่อเสียงอีกด้วย  ยิ่งดีงงามมากขึ้นเท่าไร  ก็ยิ่งกระเดื่องไกลให้โลกนิยมรู้จักมากขึ้่นเท่าน้ัน  เปรียบเหมือนดอกไม้มีทรงงามมีกลิ่นหอม  มิใช่ว่าจะสวยและหอมเฉพาะช่อดอกไม้  ยังทำให้ดงหรีอสวนงามตาเจริญใจ  เป็นที่ชมชอบของปวงชนด้วยเหมือนกัน  ฉนั้น คนเช่นนี้จึงมีชื่อเรียกในพระบาลีว่า  "สงฺฆโสภโณ"  คนยังหมู่ให้งามเพราะมีความประพฤติปฎิบัตืชอบเป็นปัจจัย
   
     อาศัยเหตุผลดังกล่าวมา  สัมมาปฎิบัติ คือ ความประพฤติดีประพฤติชอบ  จึงเป็นระบอบที่ประชาชนจะต้องศึกษาหาความรู้ความเข้าใจไว้ใช้สำหรับตน  ซึ่งทุกคนควรสนใจสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาอันเป็นศาสโนวาท   และไม่ควรปล่อยโอกาสให้ลุล่วงไปเสียเปล่าในคราวที่อำนวยให้  เพราะภายหน้าตนไปผิดพลาดแล้ว  สำนึกได้จะต้องเสียใจมิใช่น้อยในทันที  เมื่อเป็นเช่นนี้ตนเองก็มีแต่ตกอับอยู่ในฐานะอันเสื่อมทราม
     ฉนั้น ต่อไปนี้  จะได้นำหลักธรรมปฎิบัติอันจำเป็นยิ่งสำหรับทุกคนมาบรรยายสักช้อหนึ่ง  พอเป็นเครื่องเตือนใจให้คำนึงเพื่อประดับสติปัญญาต่อไป  ตามนัยแห่งธรรมมิกถาว่าด้วยโทษของความเกียจคร้านอันป็นเถรบรรหารซึงพระวิมลเถระได้ภาษิติไว้  มีปรากฎในคัมภีร์เถระคาถาขุททกนิกาย ดังพระบาลีตั้งไว้เป็นนิเขปบทน้ันว่า  

                                                                 "ปริติตํ ทารูมารุยฺห
                                                                   ยถา สีเท มหาณฺณเว
                                                                   เอวํ กุสีตมาคมฺม
                                                                   สาธุชีวิปิ สีทติ" 
     ซึ่งแปลความว่า   แม้คนที่เป็นอยู่ดีอาศัยความเกียจคร้าน   ก็ต้องล่มจม  เหมือนขึ้ไม้ท่อนเล็กๆ ต้องจมในทะเลหลวง  

     ฉนั้น  ตามสุภาษิตนี้  ย่อมชี้ให้เห็นว่า  ตัวเกียจคร้านเป็นตัวเลวทราม เป็นตัวมารร้ายที่ทำให้คนล่มจม คือเอาตัวไม่รอด  ต้องวอดวายป่นปี้จนหาชิ้นดีไม่ได้  โดยไม่เลือกหน้าว่าใครๆ ทั้งน้ัน  ถ้าปล่อยให้มีอยู่ในตน  และปล่อยให้ตนเป็นไปในอำนาจของมัน  แม้คนผู้เป็นคนดี  คือมีอาชีพเป็นหลักฐาน ซึ่งสะดวกสบายทุกประการ  ไม่ต้องวุ่นวายเดือดร้อนจนตราบชั่วอายุก็มิได้ถูกยกเว้น  เหมือนกันท่อนไม้เล็กๆ จนใช้เกาะอาศัย  หรือใช้เป็นพาหนะไปในหนทางทะเลไม่ได้  มีแต่จะทำผู้เกาะผู้ใช้ล่มจมลงทันที
     ฉนั้น  อันความร้ายกาจของตัวขี้เกียจอย่างนี้  แม้พุทธพจน์ก็มียืนยันอยู่มากมาย เช่นนัยที่ตรัสไว้ในเแนิบาตอังคุตรนิกายว่า
     "นาหํ ภิกฺขเว อญฺญํ เอกธมฺมํปิ สมนุปสฺสานิ"  เป็นอาทิ
      มีใจความว่า  เราย่อมไม่เล็งเหฺ็นแม้ซึ่งธรรม ข้อหนึ่ง ชนิดอื่นที่เป็นไป เพื่อความฉิบหายใหญ่หลวงเป็นเหตุยังอกุศล  คือความชั่วที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น  หรือยังกุศลคือความดี ซึ่งเกิดขึ้นแล้วให้เสือมไป เหมือนกับความเกียจคร้านนี้    และว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเกียจคร้านอยู่ในธรรมวินัย  อันตถาคตกล่าวดีแล้ว  ผู้้นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์  ดังนี้เป็นต้น
     แต่เมื่อกล่าวถึงเผลเฉพาะความล่มจมแล้ว  พึงเห็นได้ว่า  ถ้าบุคคลใดเกียจคร้านขึ้นเวลาใด  คุณสมบัติหรืออะไรๆ อันมีอยู่เป็นต้องวอดวายไปในเวลาน้ัน  คนทีมีความรู้ศิลปวิทยาเครื่องดำรงตน  ถ้าเกียจคร้านไมหมั่นฝึกฝนซักซ้้อมหรือประกอบใช้อยู่เนืองนิจ  ความรู้ก็ตอ้งวิปริตเลอะเลือนเสือมละลายจนไช้การไม่ได้   สมด้วยนัยพระพุทธภาษิตว่า  "อสชฺฌายมลา  มนฺตา" มนต์คือความรู้ทั้งหลาย เป็นมล ทินเลอะเลือนเพราะไ่ม่สังวัธยาย  คือ ไม่ฝึกซ้อมประกอบใช้อยู่เสมอๆ  อย่างนี้  เรียกว่ามนต์ต้องเสื่อมหาย
     คนที่ได้รับทรัพย์มรดก มีหลักฐานอยู่ในครอบครอง  มีบ้านเรือนเป็นปึกแผ่น ถ้าเกียจคร้านไม่หมั่นปกครองรักษาให้ดี   ของมีอันจะเก่าจะขาดได้ เป็นต้นว่า เสื้อผ้า ไม่อุตส่าห์ถนอมใช้ไม่ระวังรักษาให้สะอาดเรียบร้อย สักแต่ว่ามีใข้ก้ใช้ไปๆ เช่นนี้ ของก็หมดสิ้นไปโดยเร็ว  เป็นเหตุให้ยากจน แม้เครื่องโลหะชนิดที่มักมีสนิมจับ  ไม่ว่าเป็นเหล็กหรือทองเหลืองทุกสิ่ง  เมื่อปล่อยทิ้งไว้ไม่หมั่นรักษาหม่ั่นขัดหมั่นถู  เช่นนี้ของก็ต้องฉิบหาย  และของมีอันจะแตกได้เป็นธรรมดา  เช่นเครืองถ้วยเครืองแก้ว  มีแล้วก็ไม่หมั่นระมัดระวัง  จะหยิบจะใช้ก็สะเพร่า  ปลอยให้พลาดพลั้งแตกร้าว  เช่นนี้ของก็ต้องฉิบหาย  หรือเกียจคร้านในการทำทรัพย์ให้เกิดผลประโยชน์ เช่น มีนา มีสวน ก็ขี้เกียจทำ ทำเองไม่ได้  ก้ไม่กล้าให้เขาเ่ช่าถือ  มีทุนอยู่กับมือก็ขี้คร้านที่จะเอาลงทุนหากำไร  ซึ่งควรจะทำได้โดยอุบายอันชอบอย่างพระบาลีแสดงไว้ว่า  ประกอบการค้าขายโดยสุจริตไม่ผิดศีลธรรม  หรือเกียจคร้านเอาธุระกับบ้านเรือนของตน  เช่น ขี้เกียจแสวงหาพัสดุที่หาย  ขี้เกียจบูรณะพัสดุคร่ำคร่า  บ้านเรื่อนรั่วชำรุดก็ขี้เกียจซ่อมแซมให้คืนดี  เรือนก็มีแต่โทรมลงตามลำดับ  สมกับบาลีพทุธภาษิตว่า "อนุฎ ฐฺานมบา ฆรา"   เรือนเป็นมลทินเก่าคร่่ำคร่า  เพราะไม่หมั่นซ๋อม   อย่างนี้ก็เรียกว่า   ต้องล่มจมความล่มจมที่ตัวขึ้เกียจบันดาลให้พึ่งเห็นในคคีโลก ดังแสดงมาฉะนี้
     ส้วนในคดีธรรมสำหรับผู้ปฎิบัติ คือพุทธบริษัททุกหมู่เหล่า  ถ้าปล่อยให้ตัวขึ้้เกียจเข้าครอบงำได้ ก็ต้องล่มจมอย่างใหญ่หลวงเหมือนกัน  เพราะผู้ปฎิบัติน้ันดำเนินการปฎิบัติธรรมไปด้วยมุุ่งหมายความดับทุกข์เป็นที่ต้ัง  ต้องการปัญญาชั้นสูง  สำหรับรู้ธรรมความจริง  คือ รู้บำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญ  ได้แก่บุญกุศล รู้ละสิ่งที่ควรละ ได้แก่บาปอกุศล  เป็นส่วนภาวนา  และปหานะ
     เท่าที่แสดงมานี้  ก็พอชี้ให้เห็นว่า ความเกียจคร้านน้ันไม่เป็นแก่นสารแต่ประการใด  ใครๆ จะอาศัยเป็นเครื่องดำรงชีวิตไม่ได้   ทั้งในคดีโลกและคดีธรรม ฉนั้นท่านจึงเปรียบความว่า  เหมือนกับท่อนไม้เล็กๆ ถ้าบุคคลผู้ตกอยู่ในกลางทะเลสาคร  ขึ้นขี่แล้ว  ก็แน่นอนที่จะต้องพาให้ล่มจมในทันที  เพราะว่าตัวขึ้เกี่ยจนี้ มีลักษณะอันท่านแสดงไว้เป็นฝ่ายอกุศล  ทั้งโดยสุตตันดนัย และปรมัตถนัย  ได้แก่อาการที่กายจม จิตจม
     ทางกายที่ไม่นิยมการงานทอดทิ้งธุระทางใดทางหนึ่ง  ซึ่งควรประกอบให้เป็นผล  แต่ไม่ทำ แล้วปากร่ำร้องว่าไม่มีงานทำ  เพราะอยากทำแต่งานที่ไม่่มีหรือหากจะทำบ้าง  ก็สักแต่พอเป็นที  ไม่มีท่าว่าต้ังใจทำ  และทำให้ติดต่อกัน  หยุดๆ หยุ่อนๆ  นิดๆ หน่อยๆ คอยแต่จะหลีกเลี่ยง
     ใจที่ใฝ่ต่ำไปตามอารมณ์นึกคิด  ในทางทุจริตหรืออกุศล  ไม่มีฉันทะฟื้นฟูตนและคณะ  มีแต่โล้เล้ประมาทขาดความเข็มแข็งและแหนงหน่ายต่อการงานในหน้าที่ อย่างนี้ได้ชื่อว่า จิตจม
     อาการจมเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ใด  ก็มักจะอ้างเลศ ไม่ทำงานไปต่างๆนานา  ทั้งนี้ก็เพราะเกิดด้วยเหตุภายในหลายประการ  ซึ่งท่านเรียกว่า กุลีตวัตถุ  แต่เมื่อเพ่งเล็งเฉพาะตัวการแล้ว  ย่อมได้แก่ความอยากอันเดียวกัน เป็นเด็กขึ้เกียจเรียนหนังสือก็เพราะอยากเล่น อยากสนุก  โตขึ้นขึ้เกียจประกอบธุระการงานตามหน้าที่  ก็เพราะอยากสุขจนเกินควร  รวมความว่า  ขึ้เกียจเกิดขึ้นรบกวนก็เพราะอยากสะดวกสบายโดยไม่ต้องทำงาน  แต่ความสบายน้ันมิใช่จะเป็นสุขเสมอไป  บางอย่างกลายเป็นทุกข์ก็มีมาก เช่น ถึงเวลาคับขันยากจนควรจะขวนขวายประกอบอาชีพ  เลี้ยงตนและครอบครัว  กลับกลัวลำบากมัวนอนเสีย  อย่างนี้ก็สบาย  แต่เป็นผลร้ายคือ   ต้องลำบากยากจนอยู่นั่นเอง
     ความอยากสบายจนกลายเป็นขี้เกียจขึ้น  จึงไม่เป็นเพื่อความสวัสดีของประชาชน  ถ้าบ้านใดเมืองใดหรือโลกใด  ยังไม่ไร้คนขี้เกียจอยู่ตราบใด  ก็ชื่อว่ายังไม่เจริญทั้งถึงกันเต็มที่อยู่ตราบน้ัน
     เมื่อสาธุชนผู้มีวิจารณญาณ  เล็งเห็นความเกี่ยจคร้านว่าไม่ปลอยภัยมีแต่ทำความเสียหายให้แก่ตนและหมู่คณะ   ก็ควรแล้วที่เลิกละกำจัดเสียโดยปลูกฝังความเพียรให้มั่น บากบั่นพยายามป้องกันตัว มิให้ความชั่วทั้งหลายโดยเฉพาะตัวขี้เกียจนี้บังเกิดขึ้นในตน   คอยกำหนดเหตุและผลระวังไว้  ชื่อว่าได้สังวรปธานแล้ว  พยายามประหัตประหารอกุศล  จนละทิ้งสิ้นเชิงได้   ชื่อว่าใช้ปหานะปธาน  และเพียรเก็บแต่กุศลไว้  ชือว่าต้ังอยู่ในภาวนาปธาน  ถ้าทุกคนได้วิจารณญาณ คอยปลุกปลอบใจ และต้ังความเพียรหมั่นไว้   จนรักษาตัวรอดปลอดจากการทำชั่วอย่างนี้  ก็จะเป็นความสวัสดีสำหรับตน  เพราะต่างคนต่างก็ขวนขวายช่วยตัวเองได้  โดยไม่ต้องเอาเปรียบซึ่งกันและกัน  ยิ่งกว่าน้ันยังทำให้เกิดสวัสดีแก่หมู่คณะ  ประเทศชาติ ตลอดถึงแก่โลก  คือ ไม่ต้องเศร้าโศกเดือดร้อน  ด้วยยากจนและเหตุอื่นทั้งมวล  เพราะคุณธรรมเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความสวัสดีของประชาชนและประเทศชาติ  สมด้วยธรรมที่พระทศพลได้ตรัสไว้ในคัมภีร์สคาถวัคสังยุตนิกายว่า  "นาญฺญตุรโพชฺฌงฺคตปสาาญฺญตฺร  อินฺทริยสํวรา นาญฺญตฺร
สพนิสฺสคตา  โสตฺถี ปสฺสามิ ปาณินํ "  แปลความว่า  เราไม่เห็นความสวัสดีของประชาชนนอกจากปัญญา เครื่องปลุกปลอบใจ ๑ ตะปะ ๑ ความเพียร ๑ ความระมัดระวังรักษาตัวดี ๑ การละความชั่วให้หมด ๑ ดังนี้  

     เมื่อทุกคนมั่นคงอยู่ในธรรมทั้ง ๔ นี้  ถึงจะมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว  ก็ยังดีกว่าคนเป็นอยู่โดยเกียจคร้านต้ังร้อยปี  เพราะมีแต่ความรุ่งเรื่องก้าวหน้าเลยคนขี้เกียจไปได้ไกล   เหมือนกับม้าฝีเท้าไว   วิ่งผ่านม้ากระจอกไปอย่างลิบลับฉันน้ัน   และยังได้ชื่อว่ามีความเกษมสำราญสงบสุขตืนอยู่   ตื่นตัวขึ้นเถิดท่านทั้งหลาย   จะได้ปรับปรุงด้านจิตใจ  ให้เข้าสู่ความเจริญทั้งหลาย   ในขณะนี้รัฐบาลกำลังพัฒนาการด้านจิตใจให้เจริญไปตามวัตถุ  ถ้าด้านจิตใจยังไม่เจริญยังเสื่อมโทรมอยู่  แม้วัตถุที่เจริญแล้ว  ก็จะต้องเสื่อมโทรมไปด้วย    ที่ยังไ ม่เจริญ ก็ยากที่จะเจริญขึ้น   ฉนั้นประชาชนจะต้องปรับปรุงจิตใจให้เจริญเท่าทันกับวัตถุที่เจริญแล้วให้เท่าเทียมเกัน  ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน  ให้คู่ควรกันทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ  ให้มีส่วนสมดุลกัน  ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย  จงตืนตัวขึ้่นจับการงานเพื่อไปสู่ความเจริญ  จะได้หลบเลี่ยงจากลูกศร  คือ ความเกียจคร้านเสียบแทงจนย่อยยับ    ซึ่งนับว่าปฎิบัติหน้าที่สมกับโอวาทานุสาสนีที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนไว้ดังปรากฎในสุตนิบาตขุททกนิกายว่า  "อุฎฐหถ นิสีทถ โก อตฺโก สปิเต โว อาตฺรานํ หิ กา นิทฺทา สลฺลวิทฺธาน  รูปฺปตํ อุฎฐหถ นิสีทถ ทฬฺหํ สิกฺขถ สนฺติยา"  
   
     แปลความว่า   ท่านทั้งหลายลุกขึ้นนั่งเถิด  ท่านทั้งหลาย จงศึกษาเพื่อสันติวิธีให้มั่นเถิดดังนี้
     นี่แหละ  ย่อมเป็นอุบายที่จะหนีให้รอดพ้น จากความเกียจคร้าน  ถ้ามิฉนั้นแล้วความเกียจคร้านก็จะเกิดขึ้นบันดาลผล  ทำบุคคลผู้อาศัยให้ต้องล่มจมได้ทุกถ้วนหน้า  ตามนัยแห่งพระคาถา  ที่กล่าวไว้ว่า
     แม้คนที่เป็นอยู่ดีอาศัยความเกียจคร้าน   ก็ต้องล่มจมเหมือนคนขี่ท่อนไม้เล็กๆ  ต้องจมลงในทะเลหลวงฉันนั้น   ซึ่งมีอััตถาธิบายดังพรรณามา  พระธรรมเทศนา ในวาระดิถีออกจากปีเก่า  เข้าปีใหม่่ แสดงมาพอสดับสติปัญญาของพุทธศานิกชน  ก็สมควรแก่เวลา
     โอกาสนี้ อาตมาขออ้างอานุภาพบารมี  พระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ  จงอุดหนุนบันดาลให้ประเทศชาติและพระศาสนาจงเจริญรุ่งเรืองอยู่นาน  ขอให้องค์สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าพระเจ้าอยู่หัว พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  และพระราชโอรส พระราชธิดา จงเจริญพระชนมายุยืนนาน  ทรงพระเกษมสำราญโดยยิ่ง  ขอให้คณะรัฐบาลและประชาชนทั้งปวงจงเจริญรุ่่งเรืองก้าวหน้าในลาภ  ยศ สุขสมบัติยิ่งๆขึ้น  ปลอดจากภัยทั้งปวง  และขอสรรพสัตว์ จงเกษมสำราญตลอดปีนี้  เทอญ  ฯ
      เอวํ  ก็มีด้วยประการ  ฉะนี้

                 จบบริบูรณ์  

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ตอนที่ ๓๙ นาโควาทกถา (ตอนที่ ๒)



นาโควาทกถา

     โย   ปุคฺฺคโล  บุคคลใดที่เกิดมาในโลกนี้   ถ้ามีโอกาสได้บรรพชาอุปสมบทให้เป็นเกียรติปรากฎในพระพุทธศาสนา  โส สาสนสฺสํ ทายาโท  มนุษย์ชนบุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นทายาทของพระพุทธศาสนา  ไม่เสียทีที่เกิดมาในโลกนี้   เป็นของหาได้ยาก  ฉนั้น ท่านเจ้าภาพเห็นว่า ของ ๔ อย่างนี้  สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้โดยยากในโลกนี้  บัดนี้บุตรหลานของตนก็ได้ถึงแล้วจึงมิได้ประมาท  ไม่ละโอกาสอันดีนี้เสีย  จึงได้จัดการเชิญชวนหมู่ญาติ  หวังจะบรรพชาอุปสมบทบุตรหลานของตนไว้ในพระบวรพุทธศาสนา   เมื่อถึงกำหนดวันอุปสมบทจีงได่้เชิญท่านผู้รู้คัมภีร์ไสยศาสตร์มาจัดบายศรี ๕ ชั้น และบายศรีปากชาม ๓ หวี ตามประเพณีนิยม  เรียกว่า ทำขวัญ  ในบายศรีน้ันให้ใส่ไว้ซึ่งอาหารคาว และหวานแล้วจัดหาไม้มา ๓ ซึก  สำหรับค้ำจุนบายศรีมิให้ซวนเซ  จึงเอาด้ายดิบมาผูกมัดไว้ให้มั่นคง  ใบตองสด ๓ ใบ  หุ้มห่อไว่้ซึ่งบายศรี แล้วจัดหาผ้าอย่างดีมาผูกพันมีอัคคีจุดไว้ที่ปลายบายศรี  มีทั้งมะพร้าวอ่อน ไว้ให้เจ้านาคบริโภค  จึงเอาแว้นติดเทียนเวียน ๓ รอบให้ถูกระบอบตามประเพณีที่ได้กระทำสืบๆกันมา  สมมติเรียกว่าทำขวัญนี้เป็นปัญหาปริศนาธรรมทางโลก  ถ้าจะสงเคราะห์เข้าทางธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนาก็ต้องอรรถาธิบายวา  ที่หมอกล่าวคำขวัญว่าศรีๆน้ัน  เป็นเครื่องหมายว่า เจ้านาคเจ้าจะเป็นผู้มีศีลแต่บัดนี้เป็นต้นไป  บายศรี  ๕ ชั้นนั้นมิใช่อื่นไกล ได้แ่ก ศีล๕ ประการ  บายศรีปากชาม ๓ หวีได้แก่ ไตรสิกขา  ๓ เพราะศีลทั้ง ๒ ประเภทนี้เป็นมูลรากแห่งศีลทั้งหลาย   ผู้มีศีลย่อมเป็นมิงขวัญสิริมงคลอันประเสริฐ  ศีลนี้แหละจะเปลี่ยนแปลงสภาพบุคคลจากนายนั่นนายนี่  เป็นพระภิกษุนั่นพระภิกษุนี้ได้ก็อาศัยศีล ส่วนอาหารคาวและหวานที่ใส่ไว้ในบายศรีน้ัน ท่านเปรียบไว้ให้พิจารณาว่า  เหมือนหนึ่งเนื้อหนังมังสาโลหิต  ในร่างกายแห่งเราท้ังหลาย  ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้นาน  หน่อยหนึ่งก็จะเน่าเปื่อยทรุดโทรมถมทิ้งอยู่เหนือปฐพี  เป็นเครื่องสาธารณ์สูญหายจัดเป็นฝ่ายอนัตตา   ไม้ ๓ ซึก  ที่ค้ำบายศรีไว้มิให้ซวนเซนั้น  ท่านเปรียบไว้เหมือนหนึ่งกุศลบุญกรรมบถที่ค้ำจุนชีวิตบุคคลให้เป็นอยู่  ด้ายดิบที่มัดบายศรีนี้  ท่านเปรียบไว้ได้แก่มิจฉาทิฺฎฐิอุปาทานเห็นผิดจากคลองธรรม  ยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตน ใบตองสด ๓ใบที่หุ้มห่อไว้ที่บายศรีน้ัน คือความโลภ โกรธ หลง  ตระหนี่เหนียว เข้าหุ้มห่อมิให้เห็นหนทางธรรม ผ้าหุ้มบายศรีน้ัน  ท่านเปรียบไว้ได้แก่ผู้ที่บรรพชาอุปสมบทแล้ว  ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยเข้าใจแจ่มแจ้งในทางผิดชอบชั่วดี  ตรงกันข้ามกับผู้ที่ไม่ได้บวช   ใบตองสดที่ลดลงไว้่บนตักของเจ้านารน้ัน เพื่อจะให้พิจารณาทางธรรมกัมมัฎฐานว่า   ไม่จีรังยั่งยืนอยู่ได้นานดจร่างกายแห่งเราท่านทั้งหลาย  มีแต่ว่าจะทุรดโทรมเหี่ยวแห้งไป  แว่นที่ติดเทียนเวียนไป ๓ รอบน้ัน ได้แก่ภพทั้่ง ๓ คือ  กามภพ ๑ รูปภพ ๑ อรูปภพ ๑  ย่อมชักจูงให้เราทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฎ  วุ่นวายอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ ให้เหินห่างจากทางพระนิพพาน  อนึ่งหมอเอาไฟที่เทียนมาจดจ่อที่เจ้านาค  ให้รู้สึกว่าไฟเป็นเครื่องร้อน  แล้วจึงดับเสีย  ๓ ครั้ง  จึงเอาแป้งหอมน้ำหอมมา ละลายทาเจิมให้เจ้านาค นี้เป็นเครื่องเตือนว่า  เจ้านาคบวชแล้วจงดับเสียซึ่งไฟทั้ง ๓ กอง คื ราคัคคีกองหนึ่ง  โทสัคคีกองหนึ่ง  โมหัคคีกองหนึ่ง  เมื่อไฟทั้ง ๓ กองดับสนิทไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว  ก็จะมีความสุขกายเย็นใจดุจแป้งหอมน้ำหอมที่ละลายทาเจิมให้เจ่้านาค  ที่เขียนเป็นอักขระ   มะ อุะ อุ  นั้น  มิใช่อื่้นไกลได้แก่ อุปัจฌาชย์พระกรรมมวาจาและอนุสาวนาจารย์ มะ  อยู่ที่ไหล่ขวาน้ันคือ พระกรรมวาจาจารย์  อะ อยู่ไหล่ซ้ายน้ัน คือ พระอนุสาวนาจารย์  อุอยู่ที่หน้านั้นคือ พระอุปัชฌาชยะ  ท่านทั้ง ๓ นี้แหละจะเป็นผู้ชี้ทางทั้ง ๘ เส้น คือ อัฎฐังคิกมรรคทั้ง ๘ ประการ  ให้เจ้านาคดำเนินวาจาใจ  ขึ้นสู่สะพานทั้ง ๘ ทิศให้บ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้ว  อันกล่าวแล้วคือพระนิพพาน  น้ำมะพร้าวอ่อนที่จะให้เจ้านาคบริโภคน้ันเพื่อเตือนว่า  เจ้านาคเมื่อบวชแล้วจงทำใจของตนให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ดุจน้ำมะพร้าว   เมื่อจิตของเจ่้านาคบริสุทธิ์ผ่องใส ก็จะเกิดปัญญาดุจประทีปที่จุดไว้ปลายบายศรีสำหรับจะได้ส่องฉายให้เป็นบาปบุญคุณโทษ  ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์  สิ่งใดเป็นทุกข์  เป็นโทษก็จะได้ละเสีย  สิ่งใดเป็นประโยชน์ก็จะได้บำเพ็ญให้เกิดขึ่้นในขันธสันดาน เมื่อเจ้านาคน้อมจิตลงเห็นพระปรมัตถอรรถธรรมดังนี้แล้ว  ก็จะไม่ยึดมั่นถือมั่นในทางโลกจนเกินไป  จะได้น้อมใจลงในคุณพระรัตนตรัย ให้เห็นว่าคุณสิ่งใดในโลกนี้ ที่จะเสมอเหมือนคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า  และคุณบิดามารดาาหามิได้  บิดามารดาย่อมมีอุปการะคุณแก่บุตรเป็๋นอย่างยิ่ง   แท้จริงอุปการะคุณของบิดามารดานี้  ย่อมมีคุณูปการะแก่บุตรเหลือที่จะคณนา  เมื่อยังไม่มีบุตรก็กระทำความปรารถนาซึ่งบุตรผู้จะกำเนิด  ในกาลนั้น ครั้นต้ังครรภ์แล้วก็ย่อมอภิบาลรักษาครรภ์บริหารมีประการต่างๆ อนึ่งมารดาอุตส่าห์อดอออมซึ่งอาหารทีเผ็ดร้อน  ด้วยเกรงว่าบุตรในครรภ์น้ันเป็นอันตราย ครั้นเมื่อบุตรน้ันคลอดแล้ว ความเมตตากรุณาของมารดาที่มีต่อบุตรหาที่สุดมิได้  ยามใดเมื่อบุตรปริเทวนาการร่ำร้องไห้  มารดาน้ันจะนิ่งอยู่มิได้  ย่อมประคองกอดไว้่แทบอุระให้บุตรดูดดื่มกินซึ่งกษีรธาราด้วยกำลังความเสน่หารักใคร่โลหิตในกายของมารดา แปรออกมาเป็นน้ำนมสำหรับให้บุตรบริโภคมิได้ปล่อยให้บุตรต้องวิโยคอยู่ห่างกาย   ย่อมทำให้บุตรรื่นเริงบันเทิงใจ   จนกว่าบุตรจะเจริญวัยใหญ่กล้า  สอนให้รู้พูดเจรจา  รู้เดิน รู้กิน รู้นอน  รู้กระทำการงานเลี้ยงชีวิตของตนได้

    ยญฺจ  มาตฺธนํ โหติ ยญฺจ โหติ ปิตฺธนํ  อนึ่งทรัพย์สินต่างๆ ที่เป็นของบิดามารดาก็ย่อมเก็บรวมรวมรักษาไว้เพื่อประโยชน์แก่บุตรทิ้งสิ้นทุกสิ่งทุกอัน  เมือ่จะพรรณนาไปถึงคุณของบิดามารดาที่มีต่อบุตรน้ันมากนัก  เท่าที่กล่าวมานี้พอให้เห็นประจักษ์โดยสังเขปเพียงเท่านี้  ก็การที่บุตรจะคิดตอบแทนคุณของบิดามารดาในทางโลกน้ัน  ย่อมไม่สามารถจะทดแทนให้สิ้นสุดได้   โย ปน ปุคฺโคต   ส่วนว่าบตุรผู้ใด  ปพฺพชิโต   ได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา  จึงจะได้ชื่อว่าสนองคุณของบิดามารดาท้ังสองให้เต็มบริบูรณ์  และจะได้ชื่อว่าเป็นญาติกับพระศาสนา   ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสต้ังใจบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่นิยมนับถือของพทธบริษัท  บวชแล้วควรต้ังใจศ฿กษาเล่าเรียนและฝึกให้ถูกต้องเรียบร้อยแต่เบื่้องต้นไป เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้วจะได้ปฎิบัติให้เป็นเณรเป็นพระที่ดีจริงๆ  เมื่อเป็นเช่นนี้บิดามารดาจักได้ชื่อว่าบำรุงอุดหนุนพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษส่วนหนึ่ง คือ มอบบุตรให้แก่พระศาสนาเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป  ได้เท่าโอกาสที่บุตรจะอยู่ในพระพุทธศาสนาได้เพียงไร พระศาสนาที่มีอายุยืนยาวมาได้จนบัดนี้ก็เพราะอาศัยคนเก่าๆสืบต่อกันมา  แล้วตายไป  คนใหม่ๆ เข้าสืบต่อ โดยวิธีนี้พระพุทธศาสนาจึงมีอายุยืนยาวมาได้ถึง  ๒๕๐๐ ปีเศษแล้ว  เป็นประโยชน์แก่ประชุมชนผู่้ประพฤติตามเป็นอันมาก   หากช่วยกันสืบต่อไปได้อีกเพียงใด ก็จักยืนยาวไปเพียงนั้น  แต่ต้องสืบต่อด้วยความประพฤติดีปฎิบัติชอบจริงๆ  บวชแล้ว ถ้าไม่เป็นพระเป็นเณรที่ดี ประพฤติผิดธรรมวินัย กลับซ้ำร้ายเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาให้เสื่อมทรามเศร้าหมอง  บั่นทอนรอนอายุพระศาสนาให้สั้นเข้ามา  ไม่บรรพชาอุปสมบทเสียก็จะดีกว่า  ถ้าต้ังใจเล่าเรียนศึกษาประพฤติปฎิบัติชอบ  ก็จักเป็นบุญกุศลอันประเสริฐแก่ตนและมารดาญาติพี่น้องเป็นต้น   คนที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสจักเลื่อมใส  ที่มีศรัทธาเลื่อมใสแล้วจักเลื่อมใสยิ่งขึ้่น  เป็นการสมควรแท้ เพราะการที่ตัวมาบวช ต้องหยุดรายได้ทรัพย์สมบัติซึ่งเกิดจากทำไร่นาค้าขายเป็นอาทิ  ซ้ำต้องเพิ่มรายจ่ายให้มากขึ้น เช่นต้องซื้่อจ่ายเครื่องสมณบริขารเป็นต้น   เมื่อเป็นดังนี้จึงสมควรแท้ที่จะหารายได้คือบุญกุศลเมื่อเวลาบวชให้มากขึ้นจนสุดสามารถที่จะได้เพียงไร คือ การเล่่าเรียนศึกษาเกิดความรู้ความฉลาดอันจำกัดความไม่รู้ความโงเขลาออกไปเสีย   การฝึกหัดตัดกายวาจาใจ กับทิฎฐิความเห็นให้ได้ระเบียบถูกต้อง  ตลอดจนนิสัยใจคอและเป็นแแบบฉบับตัวอย่างทีดีแก่พระและสามเณรอื่นๆซึ่งจักได้ประพฤติปฎิบัติตาม  ทำให้ศาสนางดงามเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น  เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองตลอดถึงชาติ  ทำร่างกายชีวิตจิตใจให้เต็มไปด้วยประโยชน์ ไม่ประกอบด้วยโทษอันจักเบียดเบียนแผดเผาตนและคนอื่นให้เร่าร้อนรำคาญชีวิต  จักเป็นแก่นสารมีผลไม่เป็นหมัน  เป็นบุญกุศลทั้งกลางวันและกลางคืน  ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน  เวลาบวชแล้วอย่าลืมตัวมัวไปหลงเล่าเรียนศึกษา  แะประพฤติปฎิบัติแม้สิ่งที่เป็นคฤหัสถ์ทำได้  ไม่จำเป็นบวชแล้วต้องกระทำเช่นนั้น  จีงมีสติสัมปชัญญะระวังอยู่ให้มีเหตุมีเรื่องเสียหาย  และต้องถูกโทษทัณฑ์ ซึ่งจะเสียชื่อติดตัวไปจนตาย
     ใจความในเรื่องการบวชก็คือ  ละกิเลสอย่างหยาบ  อย่างกลาง   อย่างละเอียด  หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง  เมื่อบวชแล้วจงหมั่นพิจารณาตรวจตราความประพฤติความเป็นไปของตนเนืองๆ  ถ้ารู้สึกตัวว่าเป็นไปเพื่อพอกพูนอาสวะกิเลสเหล่าน้ัน  พึงเตือนตนเองว่าไม่ถูก  ผิดใจความของเรื่องบวช  จงเลิกละเสียทันที  รีบประพฤติความดีขึ้่นแทนโดยเร็วที่สุด  อย่าริเป็นเจ้าถ้อยหมอความทำให้เกิดอธิกรณ์เหตุการณ์มีขึ้นในชีวิต  ผิดใจความของเรื่องบวช   ไม่ตรงกับความประสงค์ที่จะมาหาบุญกุศล  ในเวลาที่บวชอยู่  ถ้าไม่วิวาทบาดหมางโกรธเคืองกับใครๆ  ได้เป็นอย่างดีที่สุด นับว่าเป็นคนดีมากหาได้ยาก ควรนึกว่าเป็นลาภอันยิ่งใหญ่ของตนได้รอดชีวิตพ้นอันตรายมาได้จนถึงได้บวช  ไม่ตายเสียก่อนบวชนับว่าเป็นโชคอย่างเหมาะแสนทีจะหาได้    ตัวเราก็เกิดมาในบ้านเมืองที่นับถือพระพุุทธศาสนา ไม่เป็นแต่สักว่านับถือได้ลงมือปฎิบัติตามด้วยกาย วาจา ใจ  เป็นอันว่าได้บำรุงอุดหนุนพระพุทธศาสนาด้วยร่างกายชีวิตจิตใจจริงแท้ด้วย   และเป็นโอกาสเหมาะที่สุดในชีวิตหนึ่งซึ่งได้ศึกษาพระศาสนาอย่างเต็มที่  ศึกษาแล้วได้ลงมือปฎิบัติด้วยกาย  วาจา ใจ  ตามแนวที่ได้ศึกษามานั้นด้วย
     ความจริงบาปอกุศลไม่ใช่หมดไป  และบุญกุศลไม่ใช่บริบูรณ์ขึ้น เพราะเหตแต่เพียงโกนผมกับนุ่งผ้าเหลืองเท่านั้น  นั่นเป็นเพียงเครื่องหมายเพศ บวชแล้วต้องอาศัยการศึกษาเล่าเรียนและประพฤติปฎิบัติให้ถูกต้องเต็มบริบูรณ์ตามหน้าที่  ถ้าบวชแล้วไม่ปฎิบัติดี  กลับทำความเสียหาย  ยิ่งซ้ำร้ายเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาด้วย ไม่ตรงกับความประสงค์ที่จะบวชบำเพ็ญกุศล  ถ้าทำถูกต้องตามท่าทางของบุญแล้ว  แม้ยังเป็นนาคอยู่ได้บุญก่อนบวชคือ ใจที่ผ่องแผ้วมี่ศรัทธาเลื่อมใสจะบวชก็เป็นบุญทางใจ  แต่นั้นเดินไปฝากตัวที่วัดฝึกหัดกายไว้กราบพระตามแบบอย่างก็เป็นบุญทางกาย  ท่องบ่นสาธยายคำขานนาค คำไหว้พระสวดมนต์เป็นต้น บุญก็เกิดทางวาจา ได้บุญก่อนบวชอย่างนี้ กำลังบวชอยู่ก็ได้บุญทั้ง ๓ ทางอย่างน้ัน  แม้บวชแล้วหรือสึกแล้วนึกขึ้นมาก็เกิดปิดิปราโมทย์ก็ดี  ทรางจำธรรมวินัยก็ดี  กล่าวแต่คำที่ควรพูดก็ดี  ทำด้วยกายตามส่วนที่ชอบซึ่งได้ศึกษาปฎิบัติมาแล้วก็ดี  ย่อมเกิดบุญทางกาย วาจา ใจ เหมือนอย่างน้ัน  ก่อนบวชก็ได้บุญ  กำลังบวชก็ได้บุญ  บวชสึกแล้วก็ได้บุญอย่่างนี้
     บุญได้ใน  ๓ กาลฉันใด  ถ้าทำผิดพลาดบาปก็ได้ใน ๓ กาลฉันนั้น  แต่ตรงกันข้ามกับบุญทั้งผลด้วย  และบุญไม่ใช่เกิดจากความเกียจคร้าน  บุญเกิดจากความดีมีความเพียรชอบเป็นต้น   เช่น บางคนเห็นว่า  เวลาบวชจะได้พักผ่อนร่างกายจิตใจที่บอบช้ำ  ลำบากมาในตอนเป็นคฤหัสถ์  ซึ่งต้องศึกษาและค้าขายทำไร่นาเป็นต้น   บวชแล้วจะกินนอนให้สบาย  คิดเช่นนี้เป็นการคิดผิดแท้  ควรแนะนำตนเองว่า  กินนอนเช่นน้ันสบายจริงตามที่นึก  แต่ความสบายน้ันพ้นเวลาไปแล้วก็หายหมด  คงเหลือปรากฎอยู่่แต่ความโง่เขลาทุกข์ยากลำบาก  ส่วนการท่องบ่นเล่าเรียนศึกษาพากเพียรปฎิบัติฝึกหัดตัดกาย วาจา ใจ เวลานั้นทุกข์ยากลำบากเหน็ดเหนื่อยจริง แต่ล่วงพ้นเวลาไปก็หายหมดเหมือนกัน  คงเหลือปรากฎแต่ความรู้่ความฉลาด และความเอมอิ่มใจว่าได้ปฎิบัติถูกต้องดีแล้วเป็นต้น  เมื่อเวลาบวชแล้วควรทำตนให้สมกับหน้าที่คือ ในเวลาบวชใหม่ยังไม่มีความรู้ความสามารถก็พึงประพฤติตัวให้เรียบร้อยตามพระธรรมวินัย ให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระแก่เณรอื่นๆ เป็นต้น ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสแก่ผู้ที่พบเห็นกราบไหว้บูชาทำอุปการะ ถ้าอยู่นานไปมีความรู้ความสามารถ  ควรหาโอกาสตักเตือนแนะนำพร่ำสอนให้เป็นประโยขน์แก่ผู้มีคุณน้ัน  หรือแก่ผู้อื่นอันเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์  และตั้งใจทำประโยชน์ให้แก่ศาสนานี้ เป็นการตอบแทนบุญคุณอย่างสมควรแ่ก่บรรพชิต ทำสำเร็จกิจประโยชน์แก่่ผู้อืน เป็นผลแก่ตนด้วยท้ัง ๒ฝ่าย   ซึ่งมีความตายอยุ่ข้างหน้าหนีไม่พ้น จักได้ไม่เสียทีที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา   ไม่ตายเสียก่อนได้บรรพชาอุปสมบท  ได้ประพฤติพรตพรหมจรรย์ศึลขันธ์  ในพระบวรพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่สัตว์จะพึงหาได้ยาก  นับว่าเป็นลาภอันประเสริฐของบุคคลที่เกิดมา  ย่อมเป็นอุปนิสัยปัจจัยแก่พระนิพพาน  จะระงับดับเสี่ยซึ่งทุกข์ทั้งหลาย  ตามศัพท์บาลีว่า  สพฺพ ทุกฺข  นิสฺสรณ  นิพฺพาน จะได้พ้นเสียจากสรรพทุกข์ทั้งหลาย จะเป็นปัจจัยแก่นิพพาน  อันเป็นนาถะทีพึ่งอันเกษมสุขด้วยอานิสงส์ที่ปฎิบัตชอบ ในการบรรพชาอุปสมบทดังแสดงมา   พระธรรมเทศนาสอนนาคพอฉลองศรัทธาท่านเจ้าภา ก็ยุติลงแต่เพียงนี ้ เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้  

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ตอนที่ ๓๘ นาโควาทกถา สอนนาค (ตอนที่ ๑)


นาโควาทกถา (สอนนาค) 
ของ 
พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) 


นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
กิจฺโฉ มนุสฺสปฎิลาโภ กิจฺฉํ มฺจฺจน ชีวิตํ
กิจฺโฉ พุทธานมุปฺปาโท กิจฺฉํ สทฺฺพฺฺธมฺฺมสฺสวนํ
ปพฺพชิโต จ ทลฺลโภ สทฺธาสมฺปนฺโน ทุลฺลโภติ

     
     บัดนี้ จักได้แสดงพระธรรมเทศนาในการสอนนาค    พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาบารมของท่านเจ้าภาพ  พร้อมบรรดาญาติและมิตร  ซึ่งได้มาประชุมพร้อมกันในที่นี้  ต่างก็มีจิตเจตนา  ปรารถนาจะสดับซึงธรรมิกถา อันเป็นโอวาทานุสาสนี คำสอนของสมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อหน่วงน้าวน้ำใจให้เป็นไปในสัมมาปฎิบัติ อันเป็นประเพณีของสาธุชนพุทธบริษัท  ซึงได้ประพฤติปฎิบัติสืบๆกันมา  คือ ปรารถซึงบรรพชาอุปสมบทให้เป็นเดิม  แล้วและคิดพูนเพิ่ม โดยมีพระธรรมเทศนาเรื่องสอนนาค  เพื่อเป็นเครื่องเพิ่มเติมเฉลิมศรัทธาและปัญญาของผู้ที่จะบรพชาอุปสมบทให้เจริญยิ่งขึ้นโดยลำดับ  ด้วยพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภารเจ้า   เป็นดวงประทีปสำหรับส่องโลกให้สว่าง  ด้วยโลกคือหมู่สัตว์  มืดมนอนธกาลด้วยอำนาจอวิชชาโมหะเข้าครอบงำ  ทำให้ปัญญาทุพพลภาพมุ่งแต่ลาภยศ สรรเสริญ และความสุข  เมาในกายว่าไม่มีโรค  เมาในวัยว่าตนยังหนุ่ม เมาในชีวิตไม่คิดถึงความตาย  แสวงหาแต่วัตถุที่จะเอาติดตามตนไปไม่ได้ ข้อนี้ไซร้เป็นเหตุมาแต่การขาดการฟังพระธรรมเทศนา  อันเป็นโอวาทคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ฉนั้น ท่านพุทธศาสนิกชนมาเห็นโทษของการขาดการฟังธรรม  จึงไม่ประมาทในการสดับฟังพระธรรมเทศนา เพื่อให้หายหลงหายเมาในวัยว่าตนยังหนุ่ม เมาในความไม่มีโรค  เมาในชีวิตไม่คิดถึงความตาย  เมื่อไม่เมาในสามประการดังนี้ ก็เพราะอาศัยได้สดับฟังพระธรรมเทศนา  จึงได้มีศรัทธา บรรพชาอุปสมบท เรียกว่าการบวช การบวชเป็นกรณียกิจประจำชีวิตของพระพุทธศาสนิกชนมานานแล้ว  ถือกันอย่างเคร่งครัดมาก  เพราะการบวชเป็นการเปลี่ยนชีวิตจิตใจที่เคยฟุ้งซ่านหมกมุ่นอยู่กับเรื่องของโลก ให้ต้้งอยู่ในอาการสงบ
     การบวช ถ้าบวชเป็นสามเณร  เรียกว่า บรรพชา ถ้าบวชเป็นพระเรียกว่า อุปสมบท  เป็นประเพณีของชาวไทย  เมื่อชายมีอายุ ๒๐ ปีบริบรูณ์ ซึงเป็นอายุอยู่ในเกณฑ์ที่ถือกันว่า  มีจิตใจหนักแน่น  อดทนต่อความหิวกระหายและอื่นๆ ได้  ก็เตรียมตัวบวช  เตรียมเครื่องอัฎบริขาร  มีบาตรผ้าไตรจึวร  เป็นต้น ครบบริขาร ๘ อย่าง  แล้วผู้ปกครองต้องนำลูกหลานทีจะบวชไปฝากอยู่กับพระเพื่อท่องคำขานนาค  และฝึกหัดซ้อมวิธีบวชในเวลาอันสมควร  ตอนนี้เรียกว่านาคนี้มีความสำคัญมากกำลังมีสง่าราศีห้ามเที่ยวเตร่ เพราะถ้าไปมีเรื่องขึ้นก็จะไม่ได้บวช   ผู้ปกครองจึงกวดขันลูกหลานตอนเป็นนาคมาก คำว่า นาค   แปลว่า ผู้ประเสริญ  ผู้ไม่ทำบาป  หมายความว่าผู้ที่จะบวชเป็นผู้ประเสริฐ  เป็นผู้ไม่ทำบาป  ผู้บวชต้องดำรงภาวะเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา  เรียก ผู้บวชนั้นว่าพระ เพราะเป็นผู้ประเสริฐ  ผู้ที่จะเป็นพระที่ดีน้ันจะต้องเป็นผู้ที่ได้ยินได้ฟังได้เล่าเรียน  ศึกษาพระธรรมวินัยแล้ว  ประพฤติปฎิบัติตาม จึงจะเป็นผู้ประเสริฐ
     ฉนั้น   ท่านเจ้าภาพได้จัดให้มีพระธรรมเทศนาสอนนาคดังนี้   ย่อมถูกต้องตามประเพณีครั้งพุทธกาล   สมัยพุทธกาลธรรมดาบุคคลผู้ใดที่จะได้บรรพชา  อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ก็จะต้องได้ฟังพระธรรมเทศนาก่อน   คือจะต้องได้ฟังพระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง  พระสาวกบ่้าง ตัวอย่างเช่น  ภิกษุปัจจวัคีย์ทั้ง ๕ ก็ได้ฟังพระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยพระธัมจักรกัปปวัฒนสูตร  จนได้ดวงตาเห็นธรรม จนได้ขอเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นพระภิกษุในสำนักพระศาสดา  ดังนี้เป็นตัวอย่าง   ผู้ได้ฟังธรรมของพระสาวกนั้น เช่นพระสารีบุตร เมื่อยังเป็นคฤหัสถ์ชื่อว่า อุปติสสารีบุตรปริพพาชก   ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ แสดงอริยสัจสี่โดยย่อว่า   ธรรมได้เกิดจากเหตุ  พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น  และความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาทรงสั่งสอนดังนี้  อุปติสสารีบุตรได้ฟังธรรมก็ทราบว่า ในศาสนานี้ แสดงว่าธรรมทั้งปวงเกิดแต่เหตุ และจะสงบระงับไปเพราะดับเหตุก่อน   พระศาสดาทรงสั่งสอนให้ปฎิบัติ  เพื่อสงบระงับเหตุแห่งธรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิดทุกข์   ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า   ส่ิงใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา   สิ่งนั้นทั้งหมดต้องมีความดับเป็นธรรมดา  จึงศรัทธาเลื่อมใสพาบริวาร ๒๕๐ คนไปขอเอหิภิกขุอุปสมบทต่่อพระพักตร์พระศาสดา   ดังนี้เป็นตัวอย่าง   ฉนั้นที่่ท่านเจ้าภาพได้มีพระธรรมเทศนา ให้บุตรหลานของตนได้สดับก่อนเช่นนี้ นับว่าถูกต้องตามประเพณีครั้งพุทธกาลดังแสดงมาแล้ว
     บัดนี้ อาตมาจะได้สังวรณาตามบาทพระคาถา ที่ยกขึ้นไว้เป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า  กิจฺโฉ มนุสฺสปฎิลาโภ  อธิบายว่า การที่จะได้กำเนิดเกิดเป็นมนุษย์เป็นชาติที่สูงกว่าเดรัจฉาน เป็นของหาได้ยาก เพราะต้องอาศัยปุพเพกตปญญตา  คือความดีที่ตนได้สร้างสมอบรมมาแต่ชาติปางก่อน  จึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีร่างกายบรุิสุทธิ์บริบรูณ์  อวัยวะไม่บกพร้อง ไม่ใบ้บ้าเสียจริตผิดมนุษย์ธรรมดา   เป็นสิงที่หาได้ยากประการหนึ่ง   กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ   เกิดมาแล้วการที่่จะรักษาชีวิตให้ดำรงคงทนมาได้ถึงเพียงนี้  ก็นับว่าเป็นของหาได้ยาก  เพราะคนที่เกิดมาใหม่ๆ มีร่างกายอ่อนแอไม่สามารถจะทนทานต่อธรรมชาติ คือดินฟ้าอากาศ หนาวและร้อน โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ มักตายเสียแต่เด็กโดยมาก  หรือมีวาสนาบารมีน้อยจึงเป็นเหตุให้อายุสั้นพลันตายแต่วัยเยาว์  จึงว่าชีวิตเป็นสิ่งหาได้ยากดังนี้ประการหนึ่ง   กิจฺโฉ พุทฺธามนุปฺปาโท   การที่จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขี้นในโลก แต่ละพระองค์ๆนั้น  เป็นสิ่งที่สัตว์จะพึงหาได้โดยยาก  เพราะพระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมานับด้วยแสนกัปป์  บางพระองค์ทรงสร้างพระบารมีถึง ๔ อสงไขย  ยิ่งด้วยกำไรอีกแสนกัลป์  บางพระองค์ถึง ๘ อสงไขย ยิ่งด้วยกำไรอีกแสนกัลป์  บางพระองค์ถึง ๑๖ อสงไขย ยิ่งด้วยกำไรอีกแสนกัลป์   ด้วยเหตุดังนี้ไซร้   จึงยากนักที่สัตว์จะได้มีโอกาสเกิดมาประสบพบพระองค์ จึงว่าพระชินสีห์บรมศาสดาน้ันยากนักยากหนา ที่จะทรงอุบ้ติขึ้นในโลกแต่ละพระองค์  กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ   อนึ่งเล่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงสั่งสอนเวไนยสรรพสัตว์  จึงย่อมจะอุบ้ติด้วยยากในโลกเช่นเดียวกัน   พทฺโธ  ธมฺมสฺสโพเธตา  พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ธรรม  เพราะฉนั้นตราบใดที่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบติขึ้นในโลก  พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ก็ย่อมไม่อุบัติขึ้นตามน้ันด้วยประการดังนี้   จึงเป็นการยากอย่างยิ่งที่สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้สดับตรับฟัง และปฎิบัติตามพระธรรมคำสังสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกประการหนึงเล่า   ปพฺพชิโต จ ทุลฺลโภ  การที่จะได้บรรพชาอปสมบทในศาสนาธรรมวินัยของสมเด็จพระชินวรศาสดา ก็เป็นโอกาสที่จะพึงหาได้ยาก  เพราะว่าโอกาสกาลสมัยที่จะได้พบพระพุทธเจ้า  ซึ่งเป็นผู้ตรัสรู้ธรรมนั้นมีน้อยนักหนา  บางคนเกิดมาตั้งหลายแสนชาติ ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้พบพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า และไม่ได้บรรพชาอุปสมบทเสียก็มากมายเหลือที่จะคณนา   สทฺธาสมฺปนฺโน  จ ทุลฺลโภ   อีกประการหนึ่งเล่า  มนุษย์ชนที่เกิดมาในโลกนี้  แม้ว่าจะได้เกิดมาทันพระพุทธศาสนา  มีโอกาสได้เสวนาฟังธรรมเทศนากับทั้งเป็นบุรุษเพศอันนับเป็นพิเศษควรแก่บรรพชากิจ  หากว่าเป็นผู้มีจิตใจไม่เลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัยทั้ง  ๓ ประการ ก็ไม่ควรมีสมญาบรรหารว่า เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศรัทธา   มนุษยชนที่เกิดมาจะได้บรรพชาอุปสมบทแต่ละคนนั้น  เป็นการยากอย่างยิ่ง  ชาติวุฑฺโฒ  คือ จักต้องเป็นผู้เจริญแล้วโดยชาติกำเนิด  เกิดเป็นมนุษย์อันนับว่าเป็นชาติที่สูงสุดกว่าดิรัจฉาน  กับทั้งเป็นผู้มีร่างกายไม่วิกลวิการวิปริตผิดธรรมดา  เช่นเป็นบ้าวิกลจริต  หรือเป็นโรคภัยอันร้ายกาจซึ่งอาจติดต่อกันได้   ต้องเป็นไท  คือไม่มีหนี้สินติดตัว  เหล่านี้เป็นต้น  วยวุฑฺโต อีกประการหนึ่ง จะต้องเป็นผู้เจริญแล้วด้วยวัยคือ อายุครบ ๒๐ ปี อันจำเป็นต้องมีสำหรับบรรพชากิจ คือต้องมีชนม์ชีพชีวิตอยู่ยั่งยืนตลอดมา  ถ้าแม้มามรณาเสียแต่ยังเยาว์ไม่ทันจะย่างเข้าสู่กำหนด ๒๐ ปี  หรือบางคนก็ดับสูญชีวิตเสียแต่อยู่ในครรภ์มารดา   บางคนคลอดออกมาได้ ๒ วัน ๓ วัน ไม่ทันจะเติบใหญ่  บางคนก็อยู่จนโตก็มาตายเสียก่อนครบกำหนดบวชเช่นนี้ น่าสลดเป็นนักหนา  เพราะไม่ทันจะได้บรรพชาอปสมบทก็มาสิ้นชีพวายชนม์ลงเสียก่อน  คุณวุฑโฒ  อีกประการหนึ่ง  ต้องเป็นผุูู้เจริญด้วยคุณสมบัติบางประการ  ต้องเกิดมาได้ผ่านพบพระพุทธศาสนา มีบิดามารดาเป็นสัมมาทิฎฐิ  เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม  จึงได้ชักนำให้บุตรเป็นผู้มีความเห็นชอบ อันเป็นอุปกรณ์ประกอบให้บุตรเป็นผู้มีความเชื่อถือ ความเลื่อมใสในพระคุณพระรัตนตรัย  ถ้าบุคคลที่เกิดมาในโลกนี้ขาดจากคุณธรรมทั้ง ๓ประการ คือ ความเป็นผู้เจริญแล้วโดยชาติ  โดยวัย โดยคุณ  แต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว  จะไม่มีโอกาสได้บรรพชาอุปสมบทอันเป็นการบำเพ็ญพรตอย่างยอดเยี่ยม  ในพระพุทธศาสนา  กล่าวคือ  แม้จะเป็นผู้เจริญแล้วโดยชาติกำเนิเกิดมาเป็นมนุษย์กับทั้งมีเพศเป็นบุรุษอันควรแก่บรรพชากิจ  แต่ถ้ามาแตกกายทำลายชีวิตแต่ก่อนถึงกำหนด  ก็นับว่าเป็นอันหมดโอกาสที่จะได้บรรพชาอุปสมบท  หรือมาตรแม้ว่าจะดำรงชีพอยู่ได้ตลอดมาจนเติบใหญ๋อันนับว่าเป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวัยก็ดี  แต่ถ้าเกิดมาในสกุลที่ไม่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา  จีงไม่นำพาในการบรรพชาอุปสมบท  บุคคลผู้ใดได้กำเนิดมาในสกุลเห็นปานนี้ ก็ย่อมไม่มีโอกาสจะได้บรรพชาอุปสมบท ต่อเมื่อได้เกิดมาพร้อมด้วยขณะ สมัย วัย และคุณ  ทุกสิ่งทุกประการไม่บกพร่องคือในเบื้องต้นต้องได้กำเนิดเกิดเป็นมนุษย์มีเพศเป็นบุรษ  และต้องเป็นบุตรแห่งสกุลที่เป็นสัมมาทิฎฐิ และต้องมีวัยอายุกาลผ่านพ้นมาได้ถึง ๒๐ ปีบริบูรณ์อันทั้งต้องประกอบด้วยคุณสมบัติบางประการ  คือได้ผ่านพระพุทธศาสนาและได้อบรมศึกษาในสัมมาปฎิบัตเป็นต้น  จึงจะอำนวยผลให้ได้บรรพชาอุปสมบทอันเป็นอุดมพรตอย่างยอดเยี่ยม  ในพระบวรพุทธศาสนาดังพรรณามาแล้วแต่หนหลัง

(โปรดติดตามตอนต่อไป)