พระธรรมเทศนา
พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน)
เผยแพร่จังหวัดนครปฐม
วัดดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
แสดง ณ สถานีวิทยุ วปถ. กรมการทหารสื่อสาร
วันอาทิตย์ที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๔
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
ปริตฺตํ ทรุมารุยฺห ยถา สีเท มหณฺณเว
เอวํ กุสีตมาคมฺม สาธุชีวิปิ สีทตีติ ฯ
บัดนี้ จักแสดงธรรมคำสั่งสอนในพุทธศาสนา ในวาระดิถึออกจากปีเก่าเข้าปีใหม่ เป็นการศึกษาสำหรับพุทธบริษัทให้เกิดผล คือความรู้ความเข้าใจในสัมมาปฎิบัติแล้วยึดเป็นหลักฝึกหัด อบรมบ่มนิสัยของตนให้พ้นจากความช่ัวร้ายให้หายไปพร้อมกับออกจากปีเก่า แล้วประพฤติตนให้เป็นคนดีงาม ให้เกิดมีขึ้นพร้อมกับเข้าปีใหม่ จะแก้ไขส่วนที่เลวทรามชั่วร้ายจนกลับกลายเป็นดี แม้ที่ดีแยู่แล้วก็เพิ่มเติมส่งเสริมให้เป้นคนดีงดงาม
แต่คำว่า คนดีงาม ในที่นี้มิได้หมายความว่าคนสวย เพราะว่าคนสวยอาจไม่ดีไม่งามเสี่ยเลยก็ได้ ธรรมดาคนจะดีจะงามได้ต้องอาศัยตกแต่งกายกับใจ โดยประพฤติดีปฎิบัติชอบ คือแต่งกายถูกระบอบแหงศึล มีจรรยา จึงสง่างามด้วยมารยาท และแต่งใตจให้สะอาดมีธรรม จึงดีงามด้วยอัธยาศัย ถ้าขาดการตกแต่งเช่นนี้แล้วไซร้ ก็หาดีงามอะไรไม่ได้ ถึงจะประดับร่างกายให้สะสวยด้วยอาภรณ์ มีแพรผ้าเครื่องเพชรพลอย ทองคำ เป็นต้น สักเท่าไรๆ ก็คงไม่เปลี่ยนสภาพให้กลายเป็นดี เพราะอาภรณ์ที่ประดับนั้นเป็นแต่เพียง เครื่องล่อพอให้สวย ซึ่งอาจงามจับตา แต่ไม่ถึงกับจับใจ เหมือนทองเก๊ที่เขาชุบหรือกาไหล ย่อมดูสุกใส แต่เพียงข้างนอก ถึงจะสวยเลิศลอยก็ต้องลอกและภายในยังเก๊อยู่ ไม่เปลีียนแปลง ฉน้ัน การตกแต่งอย่างนี้จึงยังใช้ไม่ได้ ที่จริงคนที่ไร้มารยาทแม้รูปร่างจะสวยสะอาดอย่างไรก็ตาม เขาต้องตำหนิว่าคนไม่มีสกุล ถ้ายิ่งขาดคุณธรรมภายใน คืออัธยาศัยเลวทรามด้วยแล้วก็ยิ่งหมดราคา เพราะจะค้นหาค่าของคนไม่ได้ที่ตรงไหน ต้องุถูกติว่า่เป็นคนชนิดที่เป็นเพียงสักว่า หรืออย่างที่ท่านเรียกไว้ในพระบาลีว่า "มนุสฺสเผคุคุ คนกะพี้" เพราะไม่มีแก่นคือความดีที่ปรารถนาจะใช้การที่สลักสำคัญอะรไม่ได้เหมือนกับไม้กะพี้ และเข้าในจำพวกที่ว่า "ปริสกสโต" คนกากในบริษัท เพราะคนชนิดนี้มีอยู่ในหมู่ใด คณะใด หรือ ในประเทศใด ชาติใด ตลอดถึงในโลกก็รังแต่จะรกหมู่ รกคณะ รกประเทศน้ัน ๆ ที่สุดก็รกโลกนั่นเอง เป็นเศษคนที่เขาทิ้งแล้วเหมือนเศษกระดาษ กากอาหาร ฉนั้น
เหตุนี้แหละคนที่จะดีงามจึงอาศัยความประพฤติปฎิบัติตน ตกแต่งให้ดีทั้งมารยาทและอัธยาศัย แม้คติของไทยเราก็มีอยู่ว่า "ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง" นี้หมายถึงการแต่งกายแต่งใจอย่างเดียวกัน ส่วนเครื่องอาภรณ์จะประดับด้วยหรือไม่่นั้น ย่อมไม่่ประมาณ เมื่อประพฤติดีปฎิบัติชอบสม่ำเสมอโดยเหตุโดยการณ์แล้ว ก็ย่อมจะดีงามได้เอง เพราะมีดีประดับอยู่ทั่วกายทั่วใจ โดยไม่บกพร่องเหมือนทองคำชมพูนุช ซึ่งสวยสดทั้งแท่ง แม้ชำแหละออกเท่าไร ก็ไม่แสดงว่าหมด่ดี เพราะมีดีอยู่ทั้งหมด ยิ่งกว่าน้้น คนที่งดงามอย่างนี้ใช่ว่าจะดีงามเฉพาะตนคนเดียวก็หาไม่ ยังทำให้หมู่คณะประเทศชาติที่ตนสังกัดอาศัย ได้งดงามด้วยเกียรติยศชื่อเสียงอีกด้วย ยิ่งดีงงามมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งกระเดื่องไกลให้โลกนิยมรู้จักมากขึ้่นเท่าน้ัน เปรียบเหมือนดอกไม้มีทรงงามมีกลิ่นหอม มิใช่ว่าจะสวยและหอมเฉพาะช่อดอกไม้ ยังทำให้ดงหรีอสวนงามตาเจริญใจ เป็นที่ชมชอบของปวงชนด้วยเหมือนกัน ฉนั้น คนเช่นนี้จึงมีชื่อเรียกในพระบาลีว่า "สงฺฆโสภโณ" คนยังหมู่ให้งามเพราะมีความประพฤติปฎิบัตืชอบเป็นปัจจัย
อาศัยเหตุผลดังกล่าวมา สัมมาปฎิบัติ คือ ความประพฤติดีประพฤติชอบ จึงเป็นระบอบที่ประชาชนจะต้องศึกษาหาความรู้ความเข้าใจไว้ใช้สำหรับตน ซึ่งทุกคนควรสนใจสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาอันเป็นศาสโนวาท และไม่ควรปล่อยโอกาสให้ลุล่วงไปเสียเปล่าในคราวที่อำนวยให้ เพราะภายหน้าตนไปผิดพลาดแล้ว สำนึกได้จะต้องเสียใจมิใช่น้อยในทันที เมื่อเป็นเช่นนี้ตนเองก็มีแต่ตกอับอยู่ในฐานะอันเสื่อมทราม
ฉนั้น ต่อไปนี้ จะได้นำหลักธรรมปฎิบัติอันจำเป็นยิ่งสำหรับทุกคนมาบรรยายสักช้อหนึ่ง พอเป็นเครื่องเตือนใจให้คำนึงเพื่อประดับสติปัญญาต่อไป ตามนัยแห่งธรรมมิกถาว่าด้วยโทษของความเกียจคร้านอันป็นเถรบรรหารซึงพระวิมลเถระได้ภาษิติไว้ มีปรากฎในคัมภีร์เถระคาถาขุททกนิกาย ดังพระบาลีตั้งไว้เป็นนิเขปบทน้ันว่า
อาศัยเหตุผลดังกล่าวมา สัมมาปฎิบัติ คือ ความประพฤติดีประพฤติชอบ จึงเป็นระบอบที่ประชาชนจะต้องศึกษาหาความรู้ความเข้าใจไว้ใช้สำหรับตน ซึ่งทุกคนควรสนใจสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาอันเป็นศาสโนวาท และไม่ควรปล่อยโอกาสให้ลุล่วงไปเสียเปล่าในคราวที่อำนวยให้ เพราะภายหน้าตนไปผิดพลาดแล้ว สำนึกได้จะต้องเสียใจมิใช่น้อยในทันที เมื่อเป็นเช่นนี้ตนเองก็มีแต่ตกอับอยู่ในฐานะอันเสื่อมทราม
ฉนั้น ต่อไปนี้ จะได้นำหลักธรรมปฎิบัติอันจำเป็นยิ่งสำหรับทุกคนมาบรรยายสักช้อหนึ่ง พอเป็นเครื่องเตือนใจให้คำนึงเพื่อประดับสติปัญญาต่อไป ตามนัยแห่งธรรมมิกถาว่าด้วยโทษของความเกียจคร้านอันป็นเถรบรรหารซึงพระวิมลเถระได้ภาษิติไว้ มีปรากฎในคัมภีร์เถระคาถาขุททกนิกาย ดังพระบาลีตั้งไว้เป็นนิเขปบทน้ันว่า
"ปริติตํ ทารูมารุยฺห
ยถา สีเท มหาณฺณเว
เอวํ กุสีตมาคมฺม
สาธุชีวิปิ สีทติ"
ซึ่งแปลความว่า แม้คนที่เป็นอยู่ดีอาศัยความเกียจคร้าน ก็ต้องล่มจม เหมือนขึ้ไม้ท่อนเล็กๆ ต้องจมในทะเลหลวง
ฉนั้น ตามสุภาษิตนี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่า ตัวเกียจคร้านเป็นตัวเลวทราม เป็นตัวมารร้ายที่ทำให้คนล่มจม คือเอาตัวไม่รอด ต้องวอดวายป่นปี้จนหาชิ้นดีไม่ได้ โดยไม่เลือกหน้าว่าใครๆ ทั้งน้ัน ถ้าปล่อยให้มีอยู่ในตน และปล่อยให้ตนเป็นไปในอำนาจของมัน แม้คนผู้เป็นคนดี คือมีอาชีพเป็นหลักฐาน ซึ่งสะดวกสบายทุกประการ ไม่ต้องวุ่นวายเดือดร้อนจนตราบชั่วอายุก็มิได้ถูกยกเว้น เหมือนกันท่อนไม้เล็กๆ จนใช้เกาะอาศัย หรือใช้เป็นพาหนะไปในหนทางทะเลไม่ได้ มีแต่จะทำผู้เกาะผู้ใช้ล่มจมลงทันที
ฉนั้น อันความร้ายกาจของตัวขี้เกียจอย่างนี้ แม้พุทธพจน์ก็มียืนยันอยู่มากมาย เช่นนัยที่ตรัสไว้ในเแนิบาตอังคุตรนิกายว่า
"นาหํ ภิกฺขเว อญฺญํ เอกธมฺมํปิ สมนุปสฺสานิ" เป็นอาทิ
มีใจความว่า เราย่อมไม่เล็งเหฺ็นแม้ซึ่งธรรม ข้อหนึ่ง ชนิดอื่นที่เป็นไป เพื่อความฉิบหายใหญ่หลวงเป็นเหตุยังอกุศล คือความชั่วที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือยังกุศลคือความดี ซึ่งเกิดขึ้นแล้วให้เสือมไป เหมือนกับความเกียจคร้านนี้ และว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเกียจคร้านอยู่ในธรรมวินัย อันตถาคตกล่าวดีแล้ว ผู้้นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดังนี้เป็นต้น
แต่เมื่อกล่าวถึงเผลเฉพาะความล่มจมแล้ว พึงเห็นได้ว่า ถ้าบุคคลใดเกียจคร้านขึ้นเวลาใด คุณสมบัติหรืออะไรๆ อันมีอยู่เป็นต้องวอดวายไปในเวลาน้ัน คนทีมีความรู้ศิลปวิทยาเครื่องดำรงตน ถ้าเกียจคร้านไมหมั่นฝึกฝนซักซ้้อมหรือประกอบใช้อยู่เนืองนิจ ความรู้ก็ตอ้งวิปริตเลอะเลือนเสือมละลายจนไช้การไม่ได้ สมด้วยนัยพระพุทธภาษิตว่า "อสชฺฌายมลา มนฺตา" มนต์คือความรู้ทั้งหลาย เป็นมล ทินเลอะเลือนเพราะไ่ม่สังวัธยาย คือ ไม่ฝึกซ้อมประกอบใช้อยู่เสมอๆ อย่างนี้ เรียกว่ามนต์ต้องเสื่อมหาย
คนที่ได้รับทรัพย์มรดก มีหลักฐานอยู่ในครอบครอง มีบ้านเรือนเป็นปึกแผ่น ถ้าเกียจคร้านไม่หมั่นปกครองรักษาให้ดี ของมีอันจะเก่าจะขาดได้ เป็นต้นว่า เสื้อผ้า ไม่อุตส่าห์ถนอมใช้ไม่ระวังรักษาให้สะอาดเรียบร้อย สักแต่ว่ามีใข้ก้ใช้ไปๆ เช่นนี้ ของก็หมดสิ้นไปโดยเร็ว เป็นเหตุให้ยากจน แม้เครื่องโลหะชนิดที่มักมีสนิมจับ ไม่ว่าเป็นเหล็กหรือทองเหลืองทุกสิ่ง เมื่อปล่อยทิ้งไว้ไม่หมั่นรักษาหม่ั่นขัดหมั่นถู เช่นนี้ของก็ต้องฉิบหาย และของมีอันจะแตกได้เป็นธรรมดา เช่นเครืองถ้วยเครืองแก้ว มีแล้วก็ไม่หมั่นระมัดระวัง จะหยิบจะใช้ก็สะเพร่า ปลอยให้พลาดพลั้งแตกร้าว เช่นนี้ของก็ต้องฉิบหาย หรือเกียจคร้านในการทำทรัพย์ให้เกิดผลประโยชน์ เช่น มีนา มีสวน ก็ขี้เกียจทำ ทำเองไม่ได้ ก้ไม่กล้าให้เขาเ่ช่าถือ มีทุนอยู่กับมือก็ขี้คร้านที่จะเอาลงทุนหากำไร ซึ่งควรจะทำได้โดยอุบายอันชอบอย่างพระบาลีแสดงไว้ว่า ประกอบการค้าขายโดยสุจริตไม่ผิดศีลธรรม หรือเกียจคร้านเอาธุระกับบ้านเรือนของตน เช่น ขี้เกียจแสวงหาพัสดุที่หาย ขี้เกียจบูรณะพัสดุคร่ำคร่า บ้านเรื่อนรั่วชำรุดก็ขี้เกียจซ่อมแซมให้คืนดี เรือนก็มีแต่โทรมลงตามลำดับ สมกับบาลีพทุธภาษิตว่า "อนุฎ ฐฺานมบา ฆรา" เรือนเป็นมลทินเก่าคร่่ำคร่า เพราะไม่หมั่นซ๋อม อย่างนี้ก็เรียกว่า ต้องล่มจมความล่มจมที่ตัวขึ้เกียจบันดาลให้พึ่งเห็นในคคีโลก ดังแสดงมาฉะนี้
ส้วนในคดีธรรมสำหรับผู้ปฎิบัติ คือพุทธบริษัททุกหมู่เหล่า ถ้าปล่อยให้ตัวขึ้้เกียจเข้าครอบงำได้ ก็ต้องล่มจมอย่างใหญ่หลวงเหมือนกัน เพราะผู้ปฎิบัติน้ันดำเนินการปฎิบัติธรรมไปด้วยมุุ่งหมายความดับทุกข์เป็นที่ต้ัง ต้องการปัญญาชั้นสูง สำหรับรู้ธรรมความจริง คือ รู้บำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญ ได้แก่บุญกุศล รู้ละสิ่งที่ควรละ ได้แก่บาปอกุศล เป็นส่วนภาวนา และปหานะ
เท่าที่แสดงมานี้ ก็พอชี้ให้เห็นว่า ความเกียจคร้านน้ันไม่เป็นแก่นสารแต่ประการใด ใครๆ จะอาศัยเป็นเครื่องดำรงชีวิตไม่ได้ ทั้งในคดีโลกและคดีธรรม ฉนั้นท่านจึงเปรียบความว่า เหมือนกับท่อนไม้เล็กๆ ถ้าบุคคลผู้ตกอยู่ในกลางทะเลสาคร ขึ้นขี่แล้ว ก็แน่นอนที่จะต้องพาให้ล่มจมในทันที เพราะว่าตัวขึ้เกี่ยจนี้ มีลักษณะอันท่านแสดงไว้เป็นฝ่ายอกุศล ทั้งโดยสุตตันดนัย และปรมัตถนัย ได้แก่อาการที่กายจม จิตจม
ทางกายที่ไม่นิยมการงานทอดทิ้งธุระทางใดทางหนึ่ง ซึ่งควรประกอบให้เป็นผล แต่ไม่ทำ แล้วปากร่ำร้องว่าไม่มีงานทำ เพราะอยากทำแต่งานที่ไม่่มีหรือหากจะทำบ้าง ก็สักแต่พอเป็นที ไม่มีท่าว่าต้ังใจทำ และทำให้ติดต่อกัน หยุดๆ หยุ่อนๆ นิดๆ หน่อยๆ คอยแต่จะหลีกเลี่ยง
ใจที่ใฝ่ต่ำไปตามอารมณ์นึกคิด ในทางทุจริตหรืออกุศล ไม่มีฉันทะฟื้นฟูตนและคณะ มีแต่โล้เล้ประมาทขาดความเข็มแข็งและแหนงหน่ายต่อการงานในหน้าที่ อย่างนี้ได้ชื่อว่า จิตจม
อาการจมเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ใด ก็มักจะอ้างเลศ ไม่ทำงานไปต่างๆนานา ทั้งนี้ก็เพราะเกิดด้วยเหตุภายในหลายประการ ซึ่งท่านเรียกว่า กุลีตวัตถุ แต่เมื่อเพ่งเล็งเฉพาะตัวการแล้ว ย่อมได้แก่ความอยากอันเดียวกัน เป็นเด็กขึ้เกียจเรียนหนังสือก็เพราะอยากเล่น อยากสนุก โตขึ้นขึ้เกียจประกอบธุระการงานตามหน้าที่ ก็เพราะอยากสุขจนเกินควร รวมความว่า ขึ้เกียจเกิดขึ้นรบกวนก็เพราะอยากสะดวกสบายโดยไม่ต้องทำงาน แต่ความสบายน้ันมิใช่จะเป็นสุขเสมอไป บางอย่างกลายเป็นทุกข์ก็มีมาก เช่น ถึงเวลาคับขันยากจนควรจะขวนขวายประกอบอาชีพ เลี้ยงตนและครอบครัว กลับกลัวลำบากมัวนอนเสีย อย่างนี้ก็สบาย แต่เป็นผลร้ายคือ ต้องลำบากยากจนอยู่นั่นเอง
ความอยากสบายจนกลายเป็นขี้เกียจขึ้น จึงไม่เป็นเพื่อความสวัสดีของประชาชน ถ้าบ้านใดเมืองใดหรือโลกใด ยังไม่ไร้คนขี้เกียจอยู่ตราบใด ก็ชื่อว่ายังไม่เจริญทั้งถึงกันเต็มที่อยู่ตราบน้ัน
เมื่อสาธุชนผู้มีวิจารณญาณ เล็งเห็นความเกี่ยจคร้านว่าไม่ปลอยภัยมีแต่ทำความเสียหายให้แก่ตนและหมู่คณะ ก็ควรแล้วที่เลิกละกำจัดเสียโดยปลูกฝังความเพียรให้มั่น บากบั่นพยายามป้องกันตัว มิให้ความชั่วทั้งหลายโดยเฉพาะตัวขี้เกียจนี้บังเกิดขึ้นในตน คอยกำหนดเหตุและผลระวังไว้ ชื่อว่าได้สังวรปธานแล้ว พยายามประหัตประหารอกุศล จนละทิ้งสิ้นเชิงได้ ชื่อว่าใช้ปหานะปธาน และเพียรเก็บแต่กุศลไว้ ชือว่าต้ังอยู่ในภาวนาปธาน ถ้าทุกคนได้วิจารณญาณ คอยปลุกปลอบใจ และต้ังความเพียรหมั่นไว้ จนรักษาตัวรอดปลอดจากการทำชั่วอย่างนี้ ก็จะเป็นความสวัสดีสำหรับตน เพราะต่างคนต่างก็ขวนขวายช่วยตัวเองได้ โดยไม่ต้องเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ยิ่งกว่าน้ันยังทำให้เกิดสวัสดีแก่หมู่คณะ ประเทศชาติ ตลอดถึงแก่โลก คือ ไม่ต้องเศร้าโศกเดือดร้อน ด้วยยากจนและเหตุอื่นทั้งมวล เพราะคุณธรรมเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความสวัสดีของประชาชนและประเทศชาติ สมด้วยธรรมที่พระทศพลได้ตรัสไว้ในคัมภีร์สคาถวัคสังยุตนิกายว่า "นาญฺญตุรโพชฺฌงฺคตปสาาญฺญตฺร อินฺทริยสํวรา นาญฺญตฺร
สพนิสฺสคตา โสตฺถี ปสฺสามิ ปาณินํ " แปลความว่า เราไม่เห็นความสวัสดีของประชาชนนอกจากปัญญา เครื่องปลุกปลอบใจ ๑ ตะปะ ๑ ความเพียร ๑ ความระมัดระวังรักษาตัวดี ๑ การละความชั่วให้หมด ๑ ดังนี้
ฉนั้น ตามสุภาษิตนี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่า ตัวเกียจคร้านเป็นตัวเลวทราม เป็นตัวมารร้ายที่ทำให้คนล่มจม คือเอาตัวไม่รอด ต้องวอดวายป่นปี้จนหาชิ้นดีไม่ได้ โดยไม่เลือกหน้าว่าใครๆ ทั้งน้ัน ถ้าปล่อยให้มีอยู่ในตน และปล่อยให้ตนเป็นไปในอำนาจของมัน แม้คนผู้เป็นคนดี คือมีอาชีพเป็นหลักฐาน ซึ่งสะดวกสบายทุกประการ ไม่ต้องวุ่นวายเดือดร้อนจนตราบชั่วอายุก็มิได้ถูกยกเว้น เหมือนกันท่อนไม้เล็กๆ จนใช้เกาะอาศัย หรือใช้เป็นพาหนะไปในหนทางทะเลไม่ได้ มีแต่จะทำผู้เกาะผู้ใช้ล่มจมลงทันที
ฉนั้น อันความร้ายกาจของตัวขี้เกียจอย่างนี้ แม้พุทธพจน์ก็มียืนยันอยู่มากมาย เช่นนัยที่ตรัสไว้ในเแนิบาตอังคุตรนิกายว่า
"นาหํ ภิกฺขเว อญฺญํ เอกธมฺมํปิ สมนุปสฺสานิ" เป็นอาทิ
มีใจความว่า เราย่อมไม่เล็งเหฺ็นแม้ซึ่งธรรม ข้อหนึ่ง ชนิดอื่นที่เป็นไป เพื่อความฉิบหายใหญ่หลวงเป็นเหตุยังอกุศล คือความชั่วที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือยังกุศลคือความดี ซึ่งเกิดขึ้นแล้วให้เสือมไป เหมือนกับความเกียจคร้านนี้ และว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเกียจคร้านอยู่ในธรรมวินัย อันตถาคตกล่าวดีแล้ว ผู้้นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดังนี้เป็นต้น
แต่เมื่อกล่าวถึงเผลเฉพาะความล่มจมแล้ว พึงเห็นได้ว่า ถ้าบุคคลใดเกียจคร้านขึ้นเวลาใด คุณสมบัติหรืออะไรๆ อันมีอยู่เป็นต้องวอดวายไปในเวลาน้ัน คนทีมีความรู้ศิลปวิทยาเครื่องดำรงตน ถ้าเกียจคร้านไมหมั่นฝึกฝนซักซ้้อมหรือประกอบใช้อยู่เนืองนิจ ความรู้ก็ตอ้งวิปริตเลอะเลือนเสือมละลายจนไช้การไม่ได้ สมด้วยนัยพระพุทธภาษิตว่า "อสชฺฌายมลา มนฺตา" มนต์คือความรู้ทั้งหลาย เป็นมล ทินเลอะเลือนเพราะไ่ม่สังวัธยาย คือ ไม่ฝึกซ้อมประกอบใช้อยู่เสมอๆ อย่างนี้ เรียกว่ามนต์ต้องเสื่อมหาย
คนที่ได้รับทรัพย์มรดก มีหลักฐานอยู่ในครอบครอง มีบ้านเรือนเป็นปึกแผ่น ถ้าเกียจคร้านไม่หมั่นปกครองรักษาให้ดี ของมีอันจะเก่าจะขาดได้ เป็นต้นว่า เสื้อผ้า ไม่อุตส่าห์ถนอมใช้ไม่ระวังรักษาให้สะอาดเรียบร้อย สักแต่ว่ามีใข้ก้ใช้ไปๆ เช่นนี้ ของก็หมดสิ้นไปโดยเร็ว เป็นเหตุให้ยากจน แม้เครื่องโลหะชนิดที่มักมีสนิมจับ ไม่ว่าเป็นเหล็กหรือทองเหลืองทุกสิ่ง เมื่อปล่อยทิ้งไว้ไม่หมั่นรักษาหม่ั่นขัดหมั่นถู เช่นนี้ของก็ต้องฉิบหาย และของมีอันจะแตกได้เป็นธรรมดา เช่นเครืองถ้วยเครืองแก้ว มีแล้วก็ไม่หมั่นระมัดระวัง จะหยิบจะใช้ก็สะเพร่า ปลอยให้พลาดพลั้งแตกร้าว เช่นนี้ของก็ต้องฉิบหาย หรือเกียจคร้านในการทำทรัพย์ให้เกิดผลประโยชน์ เช่น มีนา มีสวน ก็ขี้เกียจทำ ทำเองไม่ได้ ก้ไม่กล้าให้เขาเ่ช่าถือ มีทุนอยู่กับมือก็ขี้คร้านที่จะเอาลงทุนหากำไร ซึ่งควรจะทำได้โดยอุบายอันชอบอย่างพระบาลีแสดงไว้ว่า ประกอบการค้าขายโดยสุจริตไม่ผิดศีลธรรม หรือเกียจคร้านเอาธุระกับบ้านเรือนของตน เช่น ขี้เกียจแสวงหาพัสดุที่หาย ขี้เกียจบูรณะพัสดุคร่ำคร่า บ้านเรื่อนรั่วชำรุดก็ขี้เกียจซ่อมแซมให้คืนดี เรือนก็มีแต่โทรมลงตามลำดับ สมกับบาลีพทุธภาษิตว่า "อนุฎ ฐฺานมบา ฆรา" เรือนเป็นมลทินเก่าคร่่ำคร่า เพราะไม่หมั่นซ๋อม อย่างนี้ก็เรียกว่า ต้องล่มจมความล่มจมที่ตัวขึ้เกียจบันดาลให้พึ่งเห็นในคคีโลก ดังแสดงมาฉะนี้
ส้วนในคดีธรรมสำหรับผู้ปฎิบัติ คือพุทธบริษัททุกหมู่เหล่า ถ้าปล่อยให้ตัวขึ้้เกียจเข้าครอบงำได้ ก็ต้องล่มจมอย่างใหญ่หลวงเหมือนกัน เพราะผู้ปฎิบัติน้ันดำเนินการปฎิบัติธรรมไปด้วยมุุ่งหมายความดับทุกข์เป็นที่ต้ัง ต้องการปัญญาชั้นสูง สำหรับรู้ธรรมความจริง คือ รู้บำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญ ได้แก่บุญกุศล รู้ละสิ่งที่ควรละ ได้แก่บาปอกุศล เป็นส่วนภาวนา และปหานะ
เท่าที่แสดงมานี้ ก็พอชี้ให้เห็นว่า ความเกียจคร้านน้ันไม่เป็นแก่นสารแต่ประการใด ใครๆ จะอาศัยเป็นเครื่องดำรงชีวิตไม่ได้ ทั้งในคดีโลกและคดีธรรม ฉนั้นท่านจึงเปรียบความว่า เหมือนกับท่อนไม้เล็กๆ ถ้าบุคคลผู้ตกอยู่ในกลางทะเลสาคร ขึ้นขี่แล้ว ก็แน่นอนที่จะต้องพาให้ล่มจมในทันที เพราะว่าตัวขึ้เกี่ยจนี้ มีลักษณะอันท่านแสดงไว้เป็นฝ่ายอกุศล ทั้งโดยสุตตันดนัย และปรมัตถนัย ได้แก่อาการที่กายจม จิตจม
ทางกายที่ไม่นิยมการงานทอดทิ้งธุระทางใดทางหนึ่ง ซึ่งควรประกอบให้เป็นผล แต่ไม่ทำ แล้วปากร่ำร้องว่าไม่มีงานทำ เพราะอยากทำแต่งานที่ไม่่มีหรือหากจะทำบ้าง ก็สักแต่พอเป็นที ไม่มีท่าว่าต้ังใจทำ และทำให้ติดต่อกัน หยุดๆ หยุ่อนๆ นิดๆ หน่อยๆ คอยแต่จะหลีกเลี่ยง
ใจที่ใฝ่ต่ำไปตามอารมณ์นึกคิด ในทางทุจริตหรืออกุศล ไม่มีฉันทะฟื้นฟูตนและคณะ มีแต่โล้เล้ประมาทขาดความเข็มแข็งและแหนงหน่ายต่อการงานในหน้าที่ อย่างนี้ได้ชื่อว่า จิตจม
อาการจมเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ใด ก็มักจะอ้างเลศ ไม่ทำงานไปต่างๆนานา ทั้งนี้ก็เพราะเกิดด้วยเหตุภายในหลายประการ ซึ่งท่านเรียกว่า กุลีตวัตถุ แต่เมื่อเพ่งเล็งเฉพาะตัวการแล้ว ย่อมได้แก่ความอยากอันเดียวกัน เป็นเด็กขึ้เกียจเรียนหนังสือก็เพราะอยากเล่น อยากสนุก โตขึ้นขึ้เกียจประกอบธุระการงานตามหน้าที่ ก็เพราะอยากสุขจนเกินควร รวมความว่า ขึ้เกียจเกิดขึ้นรบกวนก็เพราะอยากสะดวกสบายโดยไม่ต้องทำงาน แต่ความสบายน้ันมิใช่จะเป็นสุขเสมอไป บางอย่างกลายเป็นทุกข์ก็มีมาก เช่น ถึงเวลาคับขันยากจนควรจะขวนขวายประกอบอาชีพ เลี้ยงตนและครอบครัว กลับกลัวลำบากมัวนอนเสีย อย่างนี้ก็สบาย แต่เป็นผลร้ายคือ ต้องลำบากยากจนอยู่นั่นเอง
ความอยากสบายจนกลายเป็นขี้เกียจขึ้น จึงไม่เป็นเพื่อความสวัสดีของประชาชน ถ้าบ้านใดเมืองใดหรือโลกใด ยังไม่ไร้คนขี้เกียจอยู่ตราบใด ก็ชื่อว่ายังไม่เจริญทั้งถึงกันเต็มที่อยู่ตราบน้ัน
เมื่อสาธุชนผู้มีวิจารณญาณ เล็งเห็นความเกี่ยจคร้านว่าไม่ปลอยภัยมีแต่ทำความเสียหายให้แก่ตนและหมู่คณะ ก็ควรแล้วที่เลิกละกำจัดเสียโดยปลูกฝังความเพียรให้มั่น บากบั่นพยายามป้องกันตัว มิให้ความชั่วทั้งหลายโดยเฉพาะตัวขี้เกียจนี้บังเกิดขึ้นในตน คอยกำหนดเหตุและผลระวังไว้ ชื่อว่าได้สังวรปธานแล้ว พยายามประหัตประหารอกุศล จนละทิ้งสิ้นเชิงได้ ชื่อว่าใช้ปหานะปธาน และเพียรเก็บแต่กุศลไว้ ชือว่าต้ังอยู่ในภาวนาปธาน ถ้าทุกคนได้วิจารณญาณ คอยปลุกปลอบใจ และต้ังความเพียรหมั่นไว้ จนรักษาตัวรอดปลอดจากการทำชั่วอย่างนี้ ก็จะเป็นความสวัสดีสำหรับตน เพราะต่างคนต่างก็ขวนขวายช่วยตัวเองได้ โดยไม่ต้องเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ยิ่งกว่าน้ันยังทำให้เกิดสวัสดีแก่หมู่คณะ ประเทศชาติ ตลอดถึงแก่โลก คือ ไม่ต้องเศร้าโศกเดือดร้อน ด้วยยากจนและเหตุอื่นทั้งมวล เพราะคุณธรรมเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความสวัสดีของประชาชนและประเทศชาติ สมด้วยธรรมที่พระทศพลได้ตรัสไว้ในคัมภีร์สคาถวัคสังยุตนิกายว่า "นาญฺญตุรโพชฺฌงฺคตปสาาญฺญตฺร อินฺทริยสํวรา นาญฺญตฺร
สพนิสฺสคตา โสตฺถี ปสฺสามิ ปาณินํ " แปลความว่า เราไม่เห็นความสวัสดีของประชาชนนอกจากปัญญา เครื่องปลุกปลอบใจ ๑ ตะปะ ๑ ความเพียร ๑ ความระมัดระวังรักษาตัวดี ๑ การละความชั่วให้หมด ๑ ดังนี้
เมื่อทุกคนมั่นคงอยู่ในธรรมทั้ง ๔ นี้ ถึงจะมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ก็ยังดีกว่าคนเป็นอยู่โดยเกียจคร้านต้ังร้อยปี เพราะมีแต่ความรุ่งเรื่องก้าวหน้าเลยคนขี้เกียจไปได้ไกล เหมือนกับม้าฝีเท้าไว วิ่งผ่านม้ากระจอกไปอย่างลิบลับฉันน้ัน และยังได้ชื่อว่ามีความเกษมสำราญสงบสุขตืนอยู่ ตื่นตัวขึ้นเถิดท่านทั้งหลาย จะได้ปรับปรุงด้านจิตใจ ให้เข้าสู่ความเจริญทั้งหลาย ในขณะนี้รัฐบาลกำลังพัฒนาการด้านจิตใจให้เจริญไปตามวัตถุ ถ้าด้านจิตใจยังไม่เจริญยังเสื่อมโทรมอยู่ แม้วัตถุที่เจริญแล้ว ก็จะต้องเสื่อมโทรมไปด้วย ที่ยังไ ม่เจริญ ก็ยากที่จะเจริญขึ้น ฉนั้นประชาชนจะต้องปรับปรุงจิตใจให้เจริญเท่าทันกับวัตถุที่เจริญแล้วให้เท่าเทียมเกัน ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ให้คู่ควรกันทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ ให้มีส่วนสมดุลกัน ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จงตืนตัวขึ้่นจับการงานเพื่อไปสู่ความเจริญ จะได้หลบเลี่ยงจากลูกศร คือ ความเกียจคร้านเสียบแทงจนย่อยยับ ซึ่งนับว่าปฎิบัติหน้าที่สมกับโอวาทานุสาสนีที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนไว้ดังปรากฎในสุตนิบาตขุททกนิกายว่า "อุฎฐหถ นิสีทถ โก อตฺโก สปิเต โว อาตฺรานํ หิ กา นิทฺทา สลฺลวิทฺธาน รูปฺปตํ อุฎฐหถ นิสีทถ ทฬฺหํ สิกฺขถ สนฺติยา"
แปลความว่า ท่านทั้งหลายลุกขึ้นนั่งเถิด ท่านทั้งหลาย จงศึกษาเพื่อสันติวิธีให้มั่นเถิดดังนี้
นี่แหละ ย่อมเป็นอุบายที่จะหนีให้รอดพ้น จากความเกียจคร้าน ถ้ามิฉนั้นแล้วความเกียจคร้านก็จะเกิดขึ้นบันดาลผล ทำบุคคลผู้อาศัยให้ต้องล่มจมได้ทุกถ้วนหน้า ตามนัยแห่งพระคาถา ที่กล่าวไว้ว่า
แม้คนที่เป็นอยู่ดีอาศัยความเกียจคร้าน ก็ต้องล่มจมเหมือนคนขี่ท่อนไม้เล็กๆ ต้องจมลงในทะเลหลวงฉันนั้น ซึ่งมีอััตถาธิบายดังพรรณามา พระธรรมเทศนา ในวาระดิถีออกจากปีเก่า เข้าปีใหม่่ แสดงมาพอสดับสติปัญญาของพุทธศานิกชน ก็สมควรแก่เวลา
โอกาสนี้ อาตมาขออ้างอานุภาพบารมี พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จงอุดหนุนบันดาลให้ประเทศชาติและพระศาสนาจงเจริญรุ่งเรืองอยู่นาน ขอให้องค์สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าพระเจ้าอยู่หัว พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระราชโอรส พระราชธิดา จงเจริญพระชนมายุยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญโดยยิ่ง ขอให้คณะรัฐบาลและประชาชนทั้งปวงจงเจริญรุ่่งเรืองก้าวหน้าในลาภ ยศ สุขสมบัติยิ่งๆขึ้น ปลอดจากภัยทั้งปวง และขอสรรพสัตว์ จงเกษมสำราญตลอดปีนี้ เทอญ ฯ
เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้
แปลความว่า ท่านทั้งหลายลุกขึ้นนั่งเถิด ท่านทั้งหลาย จงศึกษาเพื่อสันติวิธีให้มั่นเถิดดังนี้
นี่แหละ ย่อมเป็นอุบายที่จะหนีให้รอดพ้น จากความเกียจคร้าน ถ้ามิฉนั้นแล้วความเกียจคร้านก็จะเกิดขึ้นบันดาลผล ทำบุคคลผู้อาศัยให้ต้องล่มจมได้ทุกถ้วนหน้า ตามนัยแห่งพระคาถา ที่กล่าวไว้ว่า
แม้คนที่เป็นอยู่ดีอาศัยความเกียจคร้าน ก็ต้องล่มจมเหมือนคนขี่ท่อนไม้เล็กๆ ต้องจมลงในทะเลหลวงฉันนั้น ซึ่งมีอััตถาธิบายดังพรรณามา พระธรรมเทศนา ในวาระดิถีออกจากปีเก่า เข้าปีใหม่่ แสดงมาพอสดับสติปัญญาของพุทธศานิกชน ก็สมควรแก่เวลา
โอกาสนี้ อาตมาขออ้างอานุภาพบารมี พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จงอุดหนุนบันดาลให้ประเทศชาติและพระศาสนาจงเจริญรุ่งเรืองอยู่นาน ขอให้องค์สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าพระเจ้าอยู่หัว พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระราชโอรส พระราชธิดา จงเจริญพระชนมายุยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญโดยยิ่ง ขอให้คณะรัฐบาลและประชาชนทั้งปวงจงเจริญรุ่่งเรืองก้าวหน้าในลาภ ยศ สุขสมบัติยิ่งๆขึ้น ปลอดจากภัยทั้งปวง และขอสรรพสัตว์ จงเกษมสำราญตลอดปีนี้ เทอญ ฯ
เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้
จบบริบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น