วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ตอนที่ ๓๘ นาโควาทกถา สอนนาค (ตอนที่ ๑)


นาโควาทกถา (สอนนาค) 
ของ 
พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) 


นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
กิจฺโฉ มนุสฺสปฎิลาโภ กิจฺฉํ มฺจฺจน ชีวิตํ
กิจฺโฉ พุทธานมุปฺปาโท กิจฺฉํ สทฺฺพฺฺธมฺฺมสฺสวนํ
ปพฺพชิโต จ ทลฺลโภ สทฺธาสมฺปนฺโน ทุลฺลโภติ

     
     บัดนี้ จักได้แสดงพระธรรมเทศนาในการสอนนาค    พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาบารมของท่านเจ้าภาพ  พร้อมบรรดาญาติและมิตร  ซึ่งได้มาประชุมพร้อมกันในที่นี้  ต่างก็มีจิตเจตนา  ปรารถนาจะสดับซึงธรรมิกถา อันเป็นโอวาทานุสาสนี คำสอนของสมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อหน่วงน้าวน้ำใจให้เป็นไปในสัมมาปฎิบัติ อันเป็นประเพณีของสาธุชนพุทธบริษัท  ซึงได้ประพฤติปฎิบัติสืบๆกันมา  คือ ปรารถซึงบรรพชาอุปสมบทให้เป็นเดิม  แล้วและคิดพูนเพิ่ม โดยมีพระธรรมเทศนาเรื่องสอนนาค  เพื่อเป็นเครื่องเพิ่มเติมเฉลิมศรัทธาและปัญญาของผู้ที่จะบรพชาอุปสมบทให้เจริญยิ่งขึ้นโดยลำดับ  ด้วยพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภารเจ้า   เป็นดวงประทีปสำหรับส่องโลกให้สว่าง  ด้วยโลกคือหมู่สัตว์  มืดมนอนธกาลด้วยอำนาจอวิชชาโมหะเข้าครอบงำ  ทำให้ปัญญาทุพพลภาพมุ่งแต่ลาภยศ สรรเสริญ และความสุข  เมาในกายว่าไม่มีโรค  เมาในวัยว่าตนยังหนุ่ม เมาในชีวิตไม่คิดถึงความตาย  แสวงหาแต่วัตถุที่จะเอาติดตามตนไปไม่ได้ ข้อนี้ไซร้เป็นเหตุมาแต่การขาดการฟังพระธรรมเทศนา  อันเป็นโอวาทคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ฉนั้น ท่านพุทธศาสนิกชนมาเห็นโทษของการขาดการฟังธรรม  จึงไม่ประมาทในการสดับฟังพระธรรมเทศนา เพื่อให้หายหลงหายเมาในวัยว่าตนยังหนุ่ม เมาในความไม่มีโรค  เมาในชีวิตไม่คิดถึงความตาย  เมื่อไม่เมาในสามประการดังนี้ ก็เพราะอาศัยได้สดับฟังพระธรรมเทศนา  จึงได้มีศรัทธา บรรพชาอุปสมบท เรียกว่าการบวช การบวชเป็นกรณียกิจประจำชีวิตของพระพุทธศาสนิกชนมานานแล้ว  ถือกันอย่างเคร่งครัดมาก  เพราะการบวชเป็นการเปลี่ยนชีวิตจิตใจที่เคยฟุ้งซ่านหมกมุ่นอยู่กับเรื่องของโลก ให้ต้้งอยู่ในอาการสงบ
     การบวช ถ้าบวชเป็นสามเณร  เรียกว่า บรรพชา ถ้าบวชเป็นพระเรียกว่า อุปสมบท  เป็นประเพณีของชาวไทย  เมื่อชายมีอายุ ๒๐ ปีบริบรูณ์ ซึงเป็นอายุอยู่ในเกณฑ์ที่ถือกันว่า  มีจิตใจหนักแน่น  อดทนต่อความหิวกระหายและอื่นๆ ได้  ก็เตรียมตัวบวช  เตรียมเครื่องอัฎบริขาร  มีบาตรผ้าไตรจึวร  เป็นต้น ครบบริขาร ๘ อย่าง  แล้วผู้ปกครองต้องนำลูกหลานทีจะบวชไปฝากอยู่กับพระเพื่อท่องคำขานนาค  และฝึกหัดซ้อมวิธีบวชในเวลาอันสมควร  ตอนนี้เรียกว่านาคนี้มีความสำคัญมากกำลังมีสง่าราศีห้ามเที่ยวเตร่ เพราะถ้าไปมีเรื่องขึ้นก็จะไม่ได้บวช   ผู้ปกครองจึงกวดขันลูกหลานตอนเป็นนาคมาก คำว่า นาค   แปลว่า ผู้ประเสริญ  ผู้ไม่ทำบาป  หมายความว่าผู้ที่จะบวชเป็นผู้ประเสริฐ  เป็นผู้ไม่ทำบาป  ผู้บวชต้องดำรงภาวะเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา  เรียก ผู้บวชนั้นว่าพระ เพราะเป็นผู้ประเสริฐ  ผู้ที่จะเป็นพระที่ดีน้ันจะต้องเป็นผู้ที่ได้ยินได้ฟังได้เล่าเรียน  ศึกษาพระธรรมวินัยแล้ว  ประพฤติปฎิบัติตาม จึงจะเป็นผู้ประเสริฐ
     ฉนั้น   ท่านเจ้าภาพได้จัดให้มีพระธรรมเทศนาสอนนาคดังนี้   ย่อมถูกต้องตามประเพณีครั้งพุทธกาล   สมัยพุทธกาลธรรมดาบุคคลผู้ใดที่จะได้บรรพชา  อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ก็จะต้องได้ฟังพระธรรมเทศนาก่อน   คือจะต้องได้ฟังพระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง  พระสาวกบ่้าง ตัวอย่างเช่น  ภิกษุปัจจวัคีย์ทั้ง ๕ ก็ได้ฟังพระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยพระธัมจักรกัปปวัฒนสูตร  จนได้ดวงตาเห็นธรรม จนได้ขอเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นพระภิกษุในสำนักพระศาสดา  ดังนี้เป็นตัวอย่าง   ผู้ได้ฟังธรรมของพระสาวกนั้น เช่นพระสารีบุตร เมื่อยังเป็นคฤหัสถ์ชื่อว่า อุปติสสารีบุตรปริพพาชก   ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ แสดงอริยสัจสี่โดยย่อว่า   ธรรมได้เกิดจากเหตุ  พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น  และความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาทรงสั่งสอนดังนี้  อุปติสสารีบุตรได้ฟังธรรมก็ทราบว่า ในศาสนานี้ แสดงว่าธรรมทั้งปวงเกิดแต่เหตุ และจะสงบระงับไปเพราะดับเหตุก่อน   พระศาสดาทรงสั่งสอนให้ปฎิบัติ  เพื่อสงบระงับเหตุแห่งธรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิดทุกข์   ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า   ส่ิงใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา   สิ่งนั้นทั้งหมดต้องมีความดับเป็นธรรมดา  จึงศรัทธาเลื่อมใสพาบริวาร ๒๕๐ คนไปขอเอหิภิกขุอุปสมบทต่่อพระพักตร์พระศาสดา   ดังนี้เป็นตัวอย่าง   ฉนั้นที่่ท่านเจ้าภาพได้มีพระธรรมเทศนา ให้บุตรหลานของตนได้สดับก่อนเช่นนี้ นับว่าถูกต้องตามประเพณีครั้งพุทธกาลดังแสดงมาแล้ว
     บัดนี้ อาตมาจะได้สังวรณาตามบาทพระคาถา ที่ยกขึ้นไว้เป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า  กิจฺโฉ มนุสฺสปฎิลาโภ  อธิบายว่า การที่จะได้กำเนิดเกิดเป็นมนุษย์เป็นชาติที่สูงกว่าเดรัจฉาน เป็นของหาได้ยาก เพราะต้องอาศัยปุพเพกตปญญตา  คือความดีที่ตนได้สร้างสมอบรมมาแต่ชาติปางก่อน  จึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีร่างกายบรุิสุทธิ์บริบรูณ์  อวัยวะไม่บกพร้อง ไม่ใบ้บ้าเสียจริตผิดมนุษย์ธรรมดา   เป็นสิงที่หาได้ยากประการหนึ่ง   กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ   เกิดมาแล้วการที่่จะรักษาชีวิตให้ดำรงคงทนมาได้ถึงเพียงนี้  ก็นับว่าเป็นของหาได้ยาก  เพราะคนที่เกิดมาใหม่ๆ มีร่างกายอ่อนแอไม่สามารถจะทนทานต่อธรรมชาติ คือดินฟ้าอากาศ หนาวและร้อน โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ มักตายเสียแต่เด็กโดยมาก  หรือมีวาสนาบารมีน้อยจึงเป็นเหตุให้อายุสั้นพลันตายแต่วัยเยาว์  จึงว่าชีวิตเป็นสิ่งหาได้ยากดังนี้ประการหนึ่ง   กิจฺโฉ พุทฺธามนุปฺปาโท   การที่จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขี้นในโลก แต่ละพระองค์ๆนั้น  เป็นสิ่งที่สัตว์จะพึงหาได้โดยยาก  เพราะพระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมานับด้วยแสนกัปป์  บางพระองค์ทรงสร้างพระบารมีถึง ๔ อสงไขย  ยิ่งด้วยกำไรอีกแสนกัลป์  บางพระองค์ถึง ๘ อสงไขย ยิ่งด้วยกำไรอีกแสนกัลป์  บางพระองค์ถึง ๑๖ อสงไขย ยิ่งด้วยกำไรอีกแสนกัลป์   ด้วยเหตุดังนี้ไซร้   จึงยากนักที่สัตว์จะได้มีโอกาสเกิดมาประสบพบพระองค์ จึงว่าพระชินสีห์บรมศาสดาน้ันยากนักยากหนา ที่จะทรงอุบ้ติขึ้นในโลกแต่ละพระองค์  กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ   อนึ่งเล่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงสั่งสอนเวไนยสรรพสัตว์  จึงย่อมจะอุบ้ติด้วยยากในโลกเช่นเดียวกัน   พทฺโธ  ธมฺมสฺสโพเธตา  พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ธรรม  เพราะฉนั้นตราบใดที่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบติขึ้นในโลก  พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ก็ย่อมไม่อุบัติขึ้นตามน้ันด้วยประการดังนี้   จึงเป็นการยากอย่างยิ่งที่สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้สดับตรับฟัง และปฎิบัติตามพระธรรมคำสังสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกประการหนึงเล่า   ปพฺพชิโต จ ทุลฺลโภ  การที่จะได้บรรพชาอปสมบทในศาสนาธรรมวินัยของสมเด็จพระชินวรศาสดา ก็เป็นโอกาสที่จะพึงหาได้ยาก  เพราะว่าโอกาสกาลสมัยที่จะได้พบพระพุทธเจ้า  ซึ่งเป็นผู้ตรัสรู้ธรรมนั้นมีน้อยนักหนา  บางคนเกิดมาตั้งหลายแสนชาติ ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้พบพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า และไม่ได้บรรพชาอุปสมบทเสียก็มากมายเหลือที่จะคณนา   สทฺธาสมฺปนฺโน  จ ทุลฺลโภ   อีกประการหนึ่งเล่า  มนุษย์ชนที่เกิดมาในโลกนี้  แม้ว่าจะได้เกิดมาทันพระพุทธศาสนา  มีโอกาสได้เสวนาฟังธรรมเทศนากับทั้งเป็นบุรุษเพศอันนับเป็นพิเศษควรแก่บรรพชากิจ  หากว่าเป็นผู้มีจิตใจไม่เลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัยทั้ง  ๓ ประการ ก็ไม่ควรมีสมญาบรรหารว่า เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศรัทธา   มนุษยชนที่เกิดมาจะได้บรรพชาอุปสมบทแต่ละคนนั้น  เป็นการยากอย่างยิ่ง  ชาติวุฑฺโฒ  คือ จักต้องเป็นผู้เจริญแล้วโดยชาติกำเนิด  เกิดเป็นมนุษย์อันนับว่าเป็นชาติที่สูงสุดกว่าดิรัจฉาน  กับทั้งเป็นผู้มีร่างกายไม่วิกลวิการวิปริตผิดธรรมดา  เช่นเป็นบ้าวิกลจริต  หรือเป็นโรคภัยอันร้ายกาจซึ่งอาจติดต่อกันได้   ต้องเป็นไท  คือไม่มีหนี้สินติดตัว  เหล่านี้เป็นต้น  วยวุฑฺโต อีกประการหนึ่ง จะต้องเป็นผู้เจริญแล้วด้วยวัยคือ อายุครบ ๒๐ ปี อันจำเป็นต้องมีสำหรับบรรพชากิจ คือต้องมีชนม์ชีพชีวิตอยู่ยั่งยืนตลอดมา  ถ้าแม้มามรณาเสียแต่ยังเยาว์ไม่ทันจะย่างเข้าสู่กำหนด ๒๐ ปี  หรือบางคนก็ดับสูญชีวิตเสียแต่อยู่ในครรภ์มารดา   บางคนคลอดออกมาได้ ๒ วัน ๓ วัน ไม่ทันจะเติบใหญ่  บางคนก็อยู่จนโตก็มาตายเสียก่อนครบกำหนดบวชเช่นนี้ น่าสลดเป็นนักหนา  เพราะไม่ทันจะได้บรรพชาอปสมบทก็มาสิ้นชีพวายชนม์ลงเสียก่อน  คุณวุฑโฒ  อีกประการหนึ่ง  ต้องเป็นผุูู้เจริญด้วยคุณสมบัติบางประการ  ต้องเกิดมาได้ผ่านพบพระพุทธศาสนา มีบิดามารดาเป็นสัมมาทิฎฐิ  เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม  จึงได้ชักนำให้บุตรเป็นผู้มีความเห็นชอบ อันเป็นอุปกรณ์ประกอบให้บุตรเป็นผู้มีความเชื่อถือ ความเลื่อมใสในพระคุณพระรัตนตรัย  ถ้าบุคคลที่เกิดมาในโลกนี้ขาดจากคุณธรรมทั้ง ๓ประการ คือ ความเป็นผู้เจริญแล้วโดยชาติ  โดยวัย โดยคุณ  แต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว  จะไม่มีโอกาสได้บรรพชาอุปสมบทอันเป็นการบำเพ็ญพรตอย่างยอดเยี่ยม  ในพระพุทธศาสนา  กล่าวคือ  แม้จะเป็นผู้เจริญแล้วโดยชาติกำเนิเกิดมาเป็นมนุษย์กับทั้งมีเพศเป็นบุรุษอันควรแก่บรรพชากิจ  แต่ถ้ามาแตกกายทำลายชีวิตแต่ก่อนถึงกำหนด  ก็นับว่าเป็นอันหมดโอกาสที่จะได้บรรพชาอุปสมบท  หรือมาตรแม้ว่าจะดำรงชีพอยู่ได้ตลอดมาจนเติบใหญ๋อันนับว่าเป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวัยก็ดี  แต่ถ้าเกิดมาในสกุลที่ไม่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา  จีงไม่นำพาในการบรรพชาอุปสมบท  บุคคลผู้ใดได้กำเนิดมาในสกุลเห็นปานนี้ ก็ย่อมไม่มีโอกาสจะได้บรรพชาอุปสมบท ต่อเมื่อได้เกิดมาพร้อมด้วยขณะ สมัย วัย และคุณ  ทุกสิ่งทุกประการไม่บกพร่องคือในเบื้องต้นต้องได้กำเนิดเกิดเป็นมนุษย์มีเพศเป็นบุรษ  และต้องเป็นบุตรแห่งสกุลที่เป็นสัมมาทิฎฐิ และต้องมีวัยอายุกาลผ่านพ้นมาได้ถึง ๒๐ ปีบริบูรณ์อันทั้งต้องประกอบด้วยคุณสมบัติบางประการ  คือได้ผ่านพระพุทธศาสนาและได้อบรมศึกษาในสัมมาปฎิบัตเป็นต้น  จึงจะอำนวยผลให้ได้บรรพชาอุปสมบทอันเป็นอุดมพรตอย่างยอดเยี่ยม  ในพระบวรพุทธศาสนาดังพรรณามาแล้วแต่หนหลัง

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น