วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ... ตอน ๘ หลักธรรมบางประการ


๘.หลักธรรมบางประการ
หลวงพ่อที่ดีมีชื่อเสียงนั้น มักจะมีลูกศิษย์ดี การที่มีลูกศิษย์ดีเพราะหลวงพ่อดี  การที่หลวงพ่อดี ก็เพราะมีหลักธรรมดี การที่จะรู้ว่ามีหลักธรรมดี ก็รู้ที่การปฏิบัติของท่าน และรู้จากคำสั่งสอนของท่านที่จะออกมาจากจิตใจของท่าน  มิใช่สอนคนอื่นอย่างหนึ่ง ประพฤติตนอีกอย่างหนึ่ง หลวงพ่อหรือครูอย่างนี้ไม่มีคนนับถือ  แต่หลวงพ่อเงินมีคนนับถือ มีคนพูดสรรเสริญ มีคนเขียนสดุดียกย่องไว้ ก็เพราะหลวงพ่อเป็นพระดี มีหลักธรรมดี ประพฤติปฏิบัติดี เป็นพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ดีพร้อมทั้ง  ประการ คือ
. สุปฏิปันโน - ประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเหมาะ ปฏิบัติสมกับสมณะ
. อุชุปฏิปันโน - ประพฤติปฏิบัติงดงามตรงตามพระธรรมวินัย น่าดูน่าชม ทุกอิริยาบถ ทุกย่างก้าวเดิน ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี ตลอดชีวิต สม่ำเสมอ ไม่บกพร่อง ไม่ขาดไม่เกิน ครบถ้วนบริสุทธิ์บริบูรณ์
. ญายปฏิปันโน - ประพฤติปฏิบัติด้วยความสำนึกมีสติกำกับตน รู้อยู่เสมอว่า ปฏิบัติอย่างนั้นเพื่ออะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร จะได้ผลอย่างไร  ไม่ใช่ปฏิบัติไปโดยงมงาย ไม่รู้ว่าทำเพื่ออะไร แบบที่เรียกกันว่า เถรส่องบาตร
. สามีจิปฏิปันโน - ปฏิบัติด้วยความจงรักภักดีอย่างมอบกายถวายชีวิต ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความกตัญญู ด้วยความกตเวที ด้วยความภักดีในพระศาสนาที่ได้เข้ามาบวชดำรงชีพอยู่อย่างเป็นสุข
คำทั้ง  คำนี้แหละคือคำอธิบายถึงหลวงพ่อดีอย่างหลวงพ่อเงิน เป็นคุณลักษณะพระอริยสงฆ์ หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ดีแท้ ดีจริง ไม่มีอะไรจะต้องระแวงสงสัยเลย กราบได้ ไหว้ได้ บูชาได้ เป็นปูชนียบุคคลของผู้ที่ได้พบเห็นจริงๆ
มีหลักธรรมบางประการที่หลวงพ่อเงินนำมาอบรมภิกษุสามเณรอยู่เสมอ สมควรจะนำมากล่าวไว้เป็นตัวอย่างบางเรื่อง คือ
หลัก  ประการในการปฏิบัติของภิกษุ
. สำรวมอินทรีย์
. ปลงอสุภกรรมฐาน
. เจริญวิปัสสนา
"ให้ระงับกาย วาจา ใจ  การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ให้สำรวมระวังอันได้แก่การสำรวมกาย"
"การพูดจา ให้ระวัง  พูดแต่น้อย พูดแต่คำสุภาพ พูดแต่คำสัตย์คำจริง คำที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตนและเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้อื่น  ไม่พูดพล่อย ๆ ไม่พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไม่พูดส่อเสียด ยุยง ไม่พูดคำหยาบคาย ไม่พูดโป้ปดมดเท็จ ไม่พูดให้คนอื่นได้รับความเดือดร้อน เสียหาย  ได้แก่การสำรวมวาจา"
"สำรวมใจนั้น คือระมัดระวังใจ ไม่ให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง มาครอบงำจิตใจ  ไม่ให้ยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ทั้งหลาย เช่นเห็นหญิงสาวสวยเดินมาก็มิให้มองด้วยความใคร่ พูดด้วยความยินดี คิดไปในทางก่อให้เกิดราคะดังนี้ เป็นต้น"  
เรื่องปลงอสุภกรรมฐาน หรือนมัสการพระกรรมฐานด้วยคำโบราณนั้น หลวงพ่อสอนว่า
"ให้ระลึกถึงอสุภะในร่างกาย เกสา, โลมา, นะขา, ทันตา, ตะโจ อันเรียกว่าปัญจกรรมฐาน เป็นของไม่สวยงาม เน่าเปื่อย มีแต่เลือดและหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นที่อาศัยของหมู่หนอน"
เรื่องเจริญวิปัสสนา นั้น หลวงพ่อสอนว่า
"ให้พิจารณาสังขาร แยกออกเป็นขันธ์   คือ รูปร่างกายเวทนา สัญญา สังขาร - วิญญาณ  อันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ตั้งอยู่ไม่ได้นาน ไม่ใช่ตัวตน  กิเลสกาม คือความรักใคร่ยินดี  ตัณหาคือความทะยานอยากได้ อยากเป็น อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากมี  ราคะความกำหนัดยินดี ,โทสะคือความขึ้งเคียดเดียดฉันท์  จัดว่าเป็นมารมาล้างผลาญ คุณงามความดีของมนุษย์ทำให้คนเสียคน"

(โปรดติดตามตอนต่อไป) 

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ...ตอน ๖ งานบริหารพระศาสนา





๖. งานบริหารพระศาสนา
งานบริหารกิจการพระศาสนานั้น มองดูภายนอกระดับประเทศ ก็นับว่าเป็นภาพที่กว้างใหญ่ไพศาล จนมองดูพร่ามัว ไม่รู้ว่าบริหารอะไร  งานของคณะสังฆมนตรี หรืองานของมหาเถรสมาคม ก็มองไม่เห็นว่าบริหารกิจการพระศาสนาอย่างไร เพราะเป็นงานระดับสูง มีขอบข่ายกว้างขวางมาก  งานระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ก็ยังมองไม่ออกชัดเจนอะไรนัก
แต่อันที่จริงงานบริหารกิจการพระศาสนานั้น งานจริงๆ อยู่ระดับวัดนั่นเอง  เพราะพระภิกษุสงฆ์อยู่ที่วัด หัวหน้าปกครองพระภิกษุสงฆ์คือสมภารเจ้าวัด  วัดนั้นก็มีหมู่กุฎีเป็นหลัง ๆ เปรียบเหมือนบ้านเรือนของพระสงฆ์  กุฎีหลังหนึ่ง มีพระภิกษุอยู่ ๒-๔ รูป ก็เท่ากับครัวเรือนหนึ่ง ซึ่งลูกชายชาวบ้านมาบวชเรียนอยู่อาศัย  วัดหนึ่งจึงเท่ากับหมู่บ้านหนึ่ง เจ้าอาวาสนั้นถ้าจะเปรียบกับการปกครองทางบ้านเมือง ก็เท่ากับเป็นผู้ใหญ่บ้าน ปกครองหมู่บ้าน ๑๐-๒๐ หลังคาเรือน  ตำแหน่งรองเจ้าอาวาสของพระอาจารย์เงิน จันทสุวัณโณ จึงเทียบเท่ากับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านของทางการคณะสงฆ์นั่นเอง  เมื่อหลวงพ่อฮวยเจ้าอาวาส เป็นพระภิกษุสงฆ์ชราภาพแล้ว การบริหารของวัดดอนยายหอม จึงตกเป็นหน้าที่ของพระอาจารย์เงินเต็มมือ  แต่พระอาจารย์เงิน ก็มีความเคารพนอบน้อม ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อฮวยอยู่ ในฐานะเป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วยความกตัญญูกตเวที มิได้ดื้อกระด้างอวดดีแข่งดีอะไรเลย  เพราะที่จริง ใจของพระอาจารย์เงิน ก็ไม่อยากเป็นใหญ่อยู่แล้ว อยากแต่จะทำงานสร้างคุณงามความดี สร้างบารมีเพื่อเอาบุญกุศลตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาแต่อย่างเดียว  เมื่อพระเณรลูกวัดและชาวบ้านประจักษ์อยู่แก่ตาแก่ใจเช่นนี้ จึงไม่มีปัญหาอะไร  มีแต่ช่วยกัน คือช่วยกันทำ ช่วยกันออกเงินบูรณะปฏิสังขรณ์วัดดอนยายหอมให้เจริญเป็นปึกแผ่นขึ้นตามลำดับ
อีก  ปีต่อมา คือในปี พ.. ๒๔๖๓  อาจารย์พรหม ด้วงพูล โยมบิดาของพระอาจารย์เงิน ก็ถึงแก่กรรมลง  ชาวบ้านลือกันว่า อาจารย์พรหมถูกกระทำทางไสยศาสตร์ เพราะอาจารย์พรหมเป็นอาจารย์ทางไสยศาสตร์อยู่เหมือนกัน  หลวงพ่อเงินเล่าว่า โยมบิดาของท่าน ถึงแก่กรรมอย่างปัจจุบัน ไม่ทันได้รักษาพยาบาลแต่อย่างใด  ส่วนว่าจะถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร เหตุอะไรก็ไม่มีใครทราบได้ เพราะไม่มีการพิสูจน์กันด้วยวิธีการของแพทย์แผนปัจจุบัน  เมื่อโยมบิดาถึงแก่กรรมนี้ หลวงพ่อเงินอายุได้ ๓๐ ปี
ครั้นต่อมาอีก  ปี ใน พ..๒๔๖๖ หลวงพ่อฮวย ก็ถึงแก่มรณภาพอีกองค์หนึ่ง เมื่อพระอาจารย์เงิน อายุได้ ๓๓ ปี  เป็นอันว่า พระอาจารย์เงินได้สูญเสียที่พึ่ง ที่เคารพนับถือไป  คนในเวลาห่างกันเพียง  ปีเท่านั้น
ครั้นทราบถึงทางการพระสงฆ์แล้ว จึงได้สั่งแต่งตั้งให้พระอาจารย์เงิน จันทสุวัณโณ รองเจ้าอาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เมื่อวันที่  พฤษภาคม ๒๔๖๖ อายุพระอาจารย์เงินได้ ๓๓ ปี  คนทั้งหลายจึงเรียกพระอาจารย์เงินว่า “หลวงพ่อเงิน” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  ถึงแม้จะมีวัยวุฒิน้อย แต่ตำแหน่งหน้าที่และคุณงามความดี ประชาชนก็ยอมรับนับถือว่า เป็นหลวงพ่อของเขา นับแต่นั้นมา
เมื่อได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสเต็มตัวแล้ว หลวงพ่อเงิน ก็เริ่มงานการก่อสร้างหอสวดมนต์ขึ้นหลังหนึ่ง ยาว  เมตร กว้าง  เมตร สิ้นเงินค่าก่อสร้าง ๔๐,๐๐๐ บาท  ในสมัยนั้นเงินมีค่ามาก ถ้าตกปัจจุบันก็ต้องคูณด้วย ๑๐๐ ก็จะตกประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ก็มีผู้ศรัทธาบริจาคทรัพย์ทำบุญให้ท่าน ให้ก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อยเป็นงานชิ้นแรก
ระยะนี้ หลวงพ่อเงิน มีชื่อเสียงดีมาก มีคนเคารพนับถือมาก มีคนขึ้นมาก ทั้งใกล้ไกล สาวและแก่ เป็นมิ่งขวัญของคนตำบลนั้น  ถ้าจะพูดให้ตรงก็ต้องพูดว่า เป็นดาวดวงเด่นอยู่ในเวลานั้น ถึงแก่มีคนเป็นห่วงกันมาก กลัวว่าจะมีหญิงสาวคนใดมาชิงเอาหลวงพ่อเงินไปเสีย  คนเฒ่าคนแก่ พูดกันทั่วไปว่า
"สำคัญอีพวกสีกาหน้าขาว ๆ นั่นแหละ มันจะมาทำให้ผ้าเหลืองพระของกูร้อน"
มีพ่อเฒ่าคนหนึ่ง แกหวงหลวงพ่อเงินนักหนา  ถ้ามีสาวคนใดไปพูดจาถึงหลวงพ่อเงินให้แกได้ยินเข้า หรือว่าไปมาหาสู่ผิดปกติ แกจะต้องด่าให้อย่างหยาบคายเจ็บแสบ จนอายแทบว่าต้องแทรกแผ่นดินหนีทีเดียว  เขาว่าตาคนนี้แหละแกเป็นหมาเฝ้าหลวงพ่อเงินอยู่ที่วัด
อย่างไรก็ดีชื่อเสียงหลวงพ่อเงินก็โด่งดังจริงๆ มีคนไปหาไม่เว้นแต่ละวัน  แต่หลวงพ่อเงินก็ประพฤติปฏิบัติตนเหมือนพระลูกวัดธรรมดา ทุกวันทุกเช้าหลวงพ่อเงินก็ออกบิณฑบาตเช่นพระลูกวัด ไม่มีเว้นเลย  ได้อาหารดี ๆ มาก็แบ่งปันให้พระลูกวัดฉันเสมอหน้ากันตามมากตามน้อย  ได้ลาภทานสักการะอะไรมา ก็ทำบุญสร้างวัด หรือบริจาคให้พระลูกวัดไปฉันใช้สอย ไม่เคยเก็บสะสมไว้เป็นสมบัติส่วนตัวเลยแม้แต่ชิ้นเดียว  หลวงพ่อเงินชื่อเงินก็จริง แต่เรื่องเงินแล้วดูจะถือว่าเป็นกาลกิณีแก่ท่าน ท่านไม่เคยแตะต้องเงินเลย ได้มาก็รู้แต่จำนวนเงินเป็นตัวเลข ส่วนตัวเงินอยู่ที่ไวยาวัจกร เอาไปซื้อของเครื่องใช้สำหรับพระลูกวัด สำหรับการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดทุกบาททุกสตางค์
ชื่อเสียงของหลวงพ่อเงิน จึงบริสุทธิ์ผุดผ่อง ส่งกลิ่นฟุ้งขจรขจายไป เหมือนกลิ่นดอกไม้ หอมหวนทวนลมไปได้  จนรู้ถึงหูเจ้าคณะจังหวัด ท่านก็ ออกปากชมอยู่เสมอ ใครไปท่านก็พูดถึง ขอให้ดูคุณเงินสมภารวัดดอนยายหอมเป็นแบบอย่าง สมภารเด็ก ๆ แต่เขาทำอะไรมีหลักฐานดีจริงๆ
คำยกย่องของเจ้าคณะจังหวัด รู้ถึงหูสมภารวัดอื่น ๆ ทำให้สมภารวัดหลายองค์ เดินทางไปชมวัดดอนยายหอม  เมื่อเห็นวัดวาสะอาด เรียบร้อยเป็นระเบียบ เห็นบุคลิกลักษณะของหลวงพ่อเงิน มีสง่าอัธยาศัยดี โอภาปราศรัย พูดจาสุภาพเรียบร้อย พระสงฆ์และชาวบ้านก็พากันทึ่งมาก
ในระยะหลังที่อาจารย์พรหม โยมบิดามรณะไปแล้ว  ชาวบ้านที่เคยพึ่งพาอาศัยอาจารย์พรหมอยู่ เมื่อหมดที่พึ่ง ก็หันมาหาหลวงพ่อเงินแทน  เจ็บไข้ได้ป่วยมีทุกข์ร้อนอะไร ก็พากันหันหน้ามาหาหลวงพ่อเงินให้ช่วย โดยถือว่าเป็นพ่อลูกกันมีตำรับตำราอะไร ก็คงจะตกอยู่แก่พระลูกชาย  เรื่องนี้ก็กลายเป็นการบังคับทางอ้อมให้หลวงพ่อเงินต้องบำเพ็ญตนเป็นอาจารย์พรหมไปด้วย เมื่อเห็นมีคนทุกข์ร้อนบ่ายหน้ามาให้ช่วย ก็ต้องช่วยเหลือไปเท่าที่จะช่วยได้  สมัยโน้นโรงพยาบาล สถานีอนามัยก็ไม่มี มีก็อยู่ในเมือง ห่างไกลหลายกิโลเมตร ไปมาก็ลำบาก ถนนหนทาง รถยนต์ก็ไม่มี ประชาชนจึงต้องพึ่งหมอแผนโบราณ ยาขอ หมอวาน หมอชาวบ้านอยู่ทั่วไป  หลวงพ่อเงิน จึงกลายเป็นหมอแผนโบราณแทนโยมบิดาไปอีกอย่างหนึ่ง ใครป่วยไข้เป็นอะไร ก็มาขอน้ำมนต์ให้เสกเป่าให้บ้าง  เมื่อได้ผลคนก็ยิ่งนับถือ พากันมาหามากเข้าทุกที หนักเข้าก็กลายเป็นเกจิอาจารย์ ขอให้ท่านทำเสื้อยันตร์ ตะกรุด ลูกอม ขี้ผึ้ง แป้งผัดหน้า น้ำมันมนต์ เสกหมากพลู เสกทราย ซัดบ้านกันขโมยขะโจร แม้กระทั่งชานหมากก็มีคนต้องการ ไม่มีใครรังเกียจ
แต่จิตที่ตั้งความปรารถนาไว้ว่า จะบวชอุทิศชีวิตสร้างบารมี ช่วยเหลือมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยากนี้แหละ ทำให้หลวงพ่อเงินปฏิเสธไม่ได้  เพราะได้ตั้งใจมาแต่แรกแล้วว่า จะอุทิศชีวิตเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมี จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ทำให้ท่านต้องช่วยคนที่บากหน้ามาหาไม่เลือกหน้า
ก็เป็นธรรมดาของสังคม ย่อมจะมีคนดีคนชั่วปะปนกันอยู่ทั่วไปไม่เลือกกาลสถานที่  บรรดาคนที่มาหาหลวงพ่อเงิน จึงย่อมจะมีคนชั่วคนพาลปะปนอยู่ด้วย  ลูกศิษย์หลวงพ่อเงิน บางคนก็กลายเป็นอ้ายเสือร้ายไปเมื่อออกพ้นวัดไปแล้ว เช่น เสือชม เสือเชย ผู้ร้ายมีชื่อสมัยนั้นก็เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเงินด้วย
จึงทำให้เจ้าเมืองนครปฐม ต้องเดินทางไปหาหลวงพ่อเงิน  ครั้งหนึ่งพระองค์เจ้าอาทิตย์-ทิพยอาภา เจ้าเมืองนครปฐม ได้เสด็จไปหาหลวงพ่อเงินถึงวัดดอนยายหอม เพื่อจะไปขอร้องให้เลิกให้เครื่องรางของขลังเสีย  แต่เมื่อเจ้านายเชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่องค์นี้ได้เห็นบุคลิกลักษณะหลวงพ่อเงินเข้า ประกอบกับได้ทรงสนทนาโต้ตอบโอภาปราศรัย แลเห็นอัธยาศัยน้ำใจอันแท้จริงของหลวงพ่อเงิน  พระองค์เจ้าอาทิตย์ก็ล้มเลิกความคิดที่จะขอร้อง ได้กลายเป็นแขกประจำของหลวงพ่อเงินไปด้วย  ทุกวันอาทิตย์ พระองค์เจ้าอาทิตย์จะต้องไปหาหลวงพ่อเงิน เป็นแขกประจำ
หลังจากนั้นจะอย่างไรไม่ทราบชัด เจ้าคณะจังหวัด ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้หลวงพ่อเงินเป็นเจ้าคณะตำบลดอนยายหอม เมื่อ พ.. ๒๔๗๐ อายุได้ ๓๗ ปี  และในปี พ.. ๒๔๗๑ ต่อมาเจ้าคณะจังหวัดก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้พระภิกษุเงิน จันทสุวัณโณ เป็นพระครูปลัด ของเจ้าคณะอำเภอเมืองนครปฐม
ส่วนเรื่องการก่อสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนั้น หลวงพ่อเงินก็ทำไปเรื่อยๆ
.. ๒๔๗๐ ได้สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้น โดยอาศัยทุนทรัพย์ของบรรดาญาติพี่น้องของท่านเอง รวมทั้งชาวบ้านดอนยายหอม อุทิศกุศลให้โยมบิดามารดา เป็นศาลาขนาดกว้างใหญ่เป็นที่เชิดหน้าชูตาวัดนี้  หลวงพ่อเงินมีดีอยู่อย่างหนึ่งเรื่องเงิน คือท่านไม่สะสมเงิน ไม่แตะต้องเงินเลย ท่านไม่ยอมสะสมเงินไว้เพื่อส่วนตัวหรือเอาไปเจือจุนญาติพี่น้อง มีแต่เอาทรัพย์สินเงินทองของญาติพี่น้องมาร่วมทำบุญสร้างวัด  คนทั้งหลายเมื่อทราบว่าท่านจะสร้างอะไร ก็มีคนเต็มใจออกเงินช่วยทำบุญอยู่เสมอ  ครั้งหนึ่งท่านกำลังสร้างอาคารเป็นตึกคอนกรีตอยู่ ผู้เขียนถามว่า
"หลวงพ่อ สร้างอะไรหลังใหญ่ ๆ อย่างนี้ ไม่กลัวว่าจะไม่มีเงินพอ สร้างไม่เสร็จ มั่งหรือครับ"
หลวงพ่อเงินตอบเรียบ ๆ ว่า
"ตั้งใจทำไปตามกำลังศรัทธา ก็สำเร็จจนได้นั่นแหละ"
หลวงพ่อเงิน ไม่มีนิสัยโลภ ไม่สะสม ไม่ต้องการมีอะไรเป็นของตน  ไม่มีห่วง ไม่มีหวังทางโลก ไม่ทำอะไรเพื่อตัวเอง มีนิสัยเสียสละทำเพื่อคนอื่นทั้งสิ้น  นิสัยจิตใจอย่างนี้ เป็นที่รู้เป็นที่ประจักษ์แจ้งในผู้คนทั้งหลายทั้งปวงทั่วไป  เพราะเหตุนี้เมื่อท่านทำอะไร ใครรู้เข้า ก็เต็มใจยินดีบริจาคด้วยความเต็มใจเต็มสติกำลัง  หลวงพ่อเงินเสมือนเนื้อนาอันดุดม เมื่อหว่านพืชลงไปย่อมจะได้ผลเต็มที่
"อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ"
"เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีอะไรเหนือกว่า"
คนจึงยินดีหว่านพืชลงไปในนาดีอย่างหลวงพ่อเงิน
ต่อมาในปี พ.. ๒๔๗๓ ท่านได้สร้างโรงเรียนปริยัติธรรมอีกหลังหนึ่ง ขนาดกว้าง  เมตร ยาว ๑๖ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างสมัยนั้น ๔๐,๐๐๐ บาท
และในปี พ..๒๔๗๓ นั้นเอง ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ทำการอุปสมบทกุลบุตร ในตำบลดอนยายหอมนั้น เมื่ออายุ ๔๐ ปี

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ...ตอน ๕ สละโลกีย์วิสัย



๕.สละโลกีย์วิสัย
การออกบวช สละบ้านเรือน ทรัพย์สมบัติ การงาน ไปเป็นภิกษุนั้น ที่จริงก็เรียกว่า “สละโลกียวิสัย นั่นเอง  แต่ว่าถ้าการออกบวชนั้นเป็นแต่เพียงตั้งใจบวชตามประเพณี บวชทดแทนคุณบิดามารดา บวชเพื่อเอาบุญกุศล บวชเพื่อเป็นญาติกับพระพุทธศาสนา บวชเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย หรือบนตัวบวช บวชหน้าไฟ ก็สุดแล้วแต่  ก็เรียกว่าเป็นการบวชเพียงชั่วคราว ไม่ได้ตั้งใจบวชอุทิศชีวิต เพื่อจะสละโลกียวิสัยโดยแท้จริง  แม้แต่การบวชนานจนได้เป็นพระมหาเปรียญ มีสมณศักดิ์เป็นพระครู เป็นเจ้าคุณ เป็นสมเด็จพระราชาคณะก็ตาม  ก็ยังไม่เรียกว่า บวชอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนาอยู่นั่นเอง เพราะยังอาจจะลาสึกออกมาครองเรือนอีกเมื่อไรก็ได้ ด้วยน้ำใจยังไม่มั่นคงเด็ดเดี่ยวแน่วแน่พอ  ซึ่งก็เป็นธรรมดาของคนทั้งหลายทั่วไป ซึ่งเป็นบุรุษชายธรรมดา ไม่ว่าใครร้อยละเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็เป็นเช่นนี้
แต่สำหรับหลวงพ่อเงินนั้น เป็นกรณีพิเศษ สำหรับวิสามัญบุรุษ อันนานๆ จะมีสักคนหนึ่ง  คือ ตั้งแต่บวชมาก็ไม่เคยคิดแม้สักขณะจิตเดียวว่าจะสึกออกไปเป็นฆราวาสอีก ตั้งใจตั้งแต่แรกทีเดียวว่าจะขอบวชไปจนตลอดชีวิต จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ตั้งใจจะอุทิศชีวิตอยู่ในเพศภิกษุ ตั้งใจถวายชีวิตต่อพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันหนึ่ง เมื่อมีโอกาสเหมาะดี จึงได้บอกแก่โยมบิดามารดาว่า
"ทรัพย์สมบัติทางโลกที่โยมยกให้ทั้งหมดนั้น ฉันขอสละหมดทุกสิ่งทุกประการ  จะขอบวชต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ จะขออุทิศชีวิตเพื่อเป็นที่พึ่ง เป็นแสงสว่างแก่เพื่อนมนุษย์ ผู้เกิดมาอยู่ในความมืดและความทุกข์ยาก  ขอให้โยมจงยินดีอนุโมทนาด้วยเถิด"
นี้เป็นคำกล่าวเมื่อบวชได้พรรษาที่  หลังจากกลับจากเดินทางออกธุดงค์กลับมาถึงวัดแล้ว  ความจริงใจนั้น ตั้งใจจะบวชอุทิศชีวิตมาตั้งแต่แรกบวช เพียงแต่ยังไม่ได้กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณออกไปให้โยมทราบเท่านั้น  เมื่อได้ใช้เวลาตรึกตรองจนแน่ใจแล้ว จึงได้บอกให้โยมทราบเป็นคนแรก  โยมทั้งสองก็ยกมือขึ้นสาธุอนุโมทนาด้วย  เพราะก็รู้อยู่ตั้งแต่หลวงพ่อเงินเกิดมาแล้วว่าลูกชายคนนี้จะได้บวชเป็นสมภารเจ้าวัดแน่ ลูกชายก็ยังมีอยู่อีกถึง  คนที่เป็นฆราวาส  จึงไม่รู้สึกแปลกใจอะไร เมื่อได้ยินพระลูกชายพูดเช่นนี้
ในพรรษาที่  นั้น ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามมาคือ หลวงพ่อฮวย เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ซึ่งชราภาพมากแล้ว เข้าใจว่าอายุกว่า ๘๐ ปี เจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ เรื่อยมา  หลวงพ่อเงินก็ได้พยายามปรนนิบัติอยู่ไม่ทอดทิ้ง ด้วยความกตัญญูกตเวที
ต่อมาทางการพระสงฆ์ ก็ได้แต่งตั้งให้หลวงพ่อเงิน เป็นรองเจ้าอาวาส ทำการแทนเจ้าอาวาส ปกครองสงฆ์วัดดอนยายหอมต่อมา
หลวงพ่อเงิน พูดปรารภว่า
"ไม่อยากมีตำแหน่งทางคณะสงฆ์เลย แต่อยากจะทำงานพระพุทธศาสนาอย่างอิสระด้วยใจสมัคร เพื่อสร้างคุณงามความดี  การทำงานให้พระศาสนาก็ไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งหน้าที่อะไร"
เมื่อชาวบ้านกลัวว่าหลวงพ่อเงินไม่รับตำแหน่งหน้าที่ กลัวว่าทางการคณะสงฆ์จะแต่งตั้งพระภิกษุจากที่อื่นมาเป็นแทน จึงได้เข้าชื่อกันร้องเรียนไปทางเจ้าคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่
วันหนึ่ง ท่านเจ้าคุณพุทธรักขิต เจ้าคณะจังหวัดจึงได้เดินทางไปที่วัดดอนยายหอม  วันนั้น ตรงกับวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๕๙  หลวงพ่อเงินอายุได้ ๒๖  พรรษาที่   ท่านเจ้าคุณพระพุทธรักขิตได้ประชุมสงฆ์และราษฎร เพื่อเลือกตั้งรองเจ้าอาวาส ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้แต่งตั้งพระภิกษุเงิน จันทสุวัณโณ เป็นรองเจ้าอาวาส  พระพุทธรักขิตจึงเรียกพระภิกษุเงินให้มายืนต่อหน้าที่ประชุมนั้น แล้วสั่งแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
พระพุทธรักขิต เจ้าคณะจังหวัด ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า
"ได้ทราบมานานแล้วว่า คุณเงิน เป็นพระภิกษุหนุ่มที่เข้มแข็ง มีศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า มีปฏิภาณในการสั่งสอนประชาชน วางตนเป็นที่เคารพนับถือของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย  วันนี้ได้มาเห็นตัว เห็นลักษณะอันมีสง่าน่ายำเกรงด้วยแล้ว ก็สามารถจะทำนายได้ว่า พระภิกษุเงินผู้นี้ จะเป็นพระเถระผู้ทรงคุณความสามารถในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไปผู้หนึ่ง ประชาชนจะมีความเลื่อมใสศรัทธาไปทุกสารทิศ  จึงขอเตือนว่า คุณจะเป็นผู้ปกป้องชาวบ้านนี้ให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม คุณจะเป็นผู้นำให้เขาไปสู่แสงสว่าง อันหมายถึงความสงบสุข  ลักษณะของคุณก็บอกอยู่ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยเมตตาจิต  ขอให้คุณจงเจริญรุ่งเรืองอยู่ในพระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป"
คำกล่าวของท่านเจ้าคุณพุทธรักขิตนี้ นับว่าเป็นคำทำนายที่เป็นคำประกาศิตของท่านซึ่งหลวงพ่อเงินจำได้แม่นยำที่สุด เป็นทั้งคำขวัญที่ส่งเสริมกำลังใจให้ประกอบแต่ความดีตลอดมา  คำกล่าวของผู้ใหญ่ที่กล่าวออกมาด้วยน้ำใจเมตตาและปัญญา จึงมีความสำคัญต่อชีวิตของผู้น้อยเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่ายุคสมัยใด หรือบุคคลใด สถานที่ใดก็ดี  ประดุจคำพยากรณ์ของพระพุทธองค์ว่าบุคคลใดจะเป็นพระนิตยะโพธิสัตว์ ก็จะได้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคต คำของพระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งไม่มีสองฉันใด คำของครูอาจารย์ก็ฉันนั้น 



(โปรดติตตามตอนต่อไป)