วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ...ตอน ๓ ออกบวชในพระพุทธศาสนา




๓.ออกบวชในพระพุทธศาสนา

หลวงพ่อเงินเมื่อเติบโตเป็นหนุ่มขึ้นนั้น รูปร่างแข็งแรงสมบูรณ์สูงใหญ่ผึ่งผาย ผิวพรรณขาวสะอาด หน้าตาจัดว่าเป็นชายหนุ่มรูปงามในตำบลนั้น  แต่ก็เป็นการประหลาดอยู่ไม่น้อยที่ไม่มีนิสัยเจ้าชู้เลย จึงไม่เคยมีคู่รักคู่ใคร่เหมือนหนุ่มชายคนอื่น  ไม่ชอบเที่ยวเตร่ไปไหน เหล้าไม่ดื่ม การพนันไม่เล่น อยู่แต่บ้านทำแต่งาน  ทำอะไรก็เรียบร้อยประณีต สะอาดเรียบร้อยทุกๆ อย่าง เรียกว่า ผู้หญิงสาว ๆ ก็สู้ไม่ได้  อาจารย์พรหมและนางกรอง บิดามารดา จึงมักจะพูดอยู่เสมอ ๆ ว่า "เอาลูกสาว  คนมาแลกก็ไม่เอา" มีความหมายว่า ถึงผู้หญิง  คนรวมกัน ก็สู้ลูกชายคนนี้ไม่ได้
ครั้นเมื่ออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ครบบวชแล้ว บิดามารดาจึงได้จัดการบวชให้ตามประเพณี  พ่อแม่และลูกชาย มีความคิดตรงกัน คือบวชอย่างประหยัด ไม่จัดงานบวชอย่างเอิกเกริกมโหฬารอะไร ไม่มีการแห่แหน ไม่มีลิเกฉลองเหมือนอย่างชาวบ้านทั่วไป  เพียงแต่บอกญาติมิตรคนที่เคารพนับถือกัน จัดเครื่องอัฐบริขาร แล้วก็พากันไปวัด เดินประทักษิณเวียนโบสถ์  รอบ แล้วก็เข้าโบสถ์ ทำพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ สำเร็จเป็นภิกษุภาวะ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.. ๒๔๕๓ เวลา ๑๘.๑๕ นาฬิกา  พระอุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า "จนฺทสุวณฺโณ" ตามตำราการตั้งฉายาตามวันเกิดของคนวันอังคาร วรรค จ ฉ ช ฌ ญ  พระอุปัชฌาย์ คือหลวงพ่อฮวย เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม
เป็นที่น่าแปลกอยู่ประการหนึ่งคือ ในขณะทำพิธีอุปสมบทนั้น ได้เกิดลมพายุพัดอย่างแรง แล้วฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก คล้าย ๆ กับว่าเทพยดาฟ้าดิน ก็พลอยปรีดาปราโมทย์ อนุโมทนาในการอุปสมบทของหลวงพ่อเงินด้วย
เมื่อบวชได้  พรรษา ก็ท่องบทสวดมนต์  ตำนาน ๑๒ ตำนาน ได้หมดสิ้น  แล้วก็ท่องพระปาฏิโมกข์ได้ในพรรษาแรกนั้นเอง เป็นที่โจษขานกันมาก เพราะคนสมัยนั้นนับถือกันว่าใครท่องพระปาฏิโมกข์ในพรรษาแรก  พระภิกษุองค์นั้นปัญญาดี และมีบุญเก่ามาส่งเสริม จะเจริญในทางพระพุทธศาสนา
วันหนึ่งเมื่อไปโปรดสัตว์ คือบิณฑบาตที่บ้าน โยมบิดาก็พูดว่า
"คุณเงิน คุณอย่าจำวัดแต่หัวค่ำนัก เป็นพระไม่ได้ทำไร่ทำนาก็ควรจะฝึกหัดให้อดทน"
หลวงพ่อเงินทราบดีว่า โยมบิดาทราบเรื่องนี้ได้นั้นเพราะนั่งเข้าฌานเพ่งกสิณไปดูพระลูกชาย โดยฌานสมาบัติ หรือที่เรียกว่า นั่งทางใน
ต่อมาไม่ช้า เวลาค่ำ อาจารย์พรหมก็มักจะไปหาพระลูกชาย เพื่อถ่ายทอดวิชาเพ่งฌานสมาบัติให้
อาจารย์พรหมสอนพระลูกชายว่า
"จะเรียนวิชานี้ให้สำเร็จต้องประกอบด้วย ศรัทธา ความเชื่อมั่น  วิริยะ - ความเพียรพยายาม  ขันติ - ความอดทน  สัจจะ - ความถือสัตย์  อธิษฐาน - ความตั้งใจแน่วแน่"
ขั้นแรกต้องมีความเชื่อมั่น (ศรัทธา)
ขั้นสองต้องพากเพียรปฏิบัติ (วิริยะ)
ขั้นสามต้องมีความอดทน (ขันติ)
ขั้นสี่ต้องมีสัจจะในใจว่า จะต้องทำให้ได้เหมือนใจคิดและปากพูด ถ้าไม่สำเร็จก็ยอมเสียสละทุกอย่างได้  (สัจจะ)
ขั้นห้า คือ อธิษฐาน - ความตั้งมั่นในจิตใจ อ้างเอาคุณพระรัตนตรัย อ้างเอาคุณบิดามารดา อ้างเอาคุณแห่งศีล คุณแห่งทาน มาตั้งมั่นในใจ เพื่ออธิษฐานให้สำเร็จ(อธิษฐาน)
เล่าให้พระลูกชายฟังว่า
"เมื่อโยมเรียนวิชากับพระอาจารย์นั้น ท่านหัดให้เพ่งดวงอาทิตย์ตอนเช้า จนสามารถมองดูดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงได้ หลับตาก็มองเห็นดวงอาทิตย์ได้  นั่งสมาธิเพ่งดวงเทียนจับนิ่งอยู่ที่เปลวเทียน จนเมื่อหลับตาแล้ว ก็ยังแลเห็นดวงเทียนสว่างอยู่ที่เดิม  ให้นั่งที่ท่าน้ำ ใช้ดวงจิตเพ่งไปที่ผักตบชะวา แล้วภาวนาให้ผักตบชะวานั้นนิ่งอยู่กับที่ ด้วยอำนาจกระแสจิตได้  เมื่อทำเช่นนี้ จึงจะสามารถเรียนวิชาสำเร็จได้"
หลวงพ่อเงินจึงฝักใฝ่ตั้งใจฝึกหัด จนสำเร็จวิชาตามที่โยมบิดาสอนให้


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น