นาโควาทกถา
โย ปุคฺฺคโล บุคคลใดที่เกิดมาในโลกนี้ ถ้ามีโอกาสได้บรรพชาอุปสมบทให้เป็นเกียรติปรากฎในพระพุทธศาสนา โส สาสนสฺสํ ทายาโท มนุษย์ชนบุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นทายาทของพระพุทธศาสนา ไม่เสียทีที่เกิดมาในโลกนี้ เป็นของหาได้ยาก ฉนั้น ท่านเจ้าภาพเห็นว่า ของ ๔ อย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้โดยยากในโลกนี้ บัดนี้บุตรหลานของตนก็ได้ถึงแล้วจึงมิได้ประมาท ไม่ละโอกาสอันดีนี้เสีย จึงได้จัดการเชิญชวนหมู่ญาติ หวังจะบรรพชาอุปสมบทบุตรหลานของตนไว้ในพระบวรพุทธศาสนา เมื่อถึงกำหนดวันอุปสมบทจีงได่้เชิญท่านผู้รู้คัมภีร์ไสยศาสตร์มาจัดบายศรี ๕ ชั้น และบายศรีปากชาม ๓ หวี ตามประเพณีนิยม เรียกว่า ทำขวัญ ในบายศรีน้ันให้ใส่ไว้ซึ่งอาหารคาว และหวานแล้วจัดหาไม้มา ๓ ซึก สำหรับค้ำจุนบายศรีมิให้ซวนเซ จึงเอาด้ายดิบมาผูกมัดไว้ให้มั่นคง ใบตองสด ๓ ใบ หุ้มห่อไว่้ซึ่งบายศรี แล้วจัดหาผ้าอย่างดีมาผูกพันมีอัคคีจุดไว้ที่ปลายบายศรี มีทั้งมะพร้าวอ่อน ไว้ให้เจ้านาคบริโภค จึงเอาแว้นติดเทียนเวียน ๓ รอบให้ถูกระบอบตามประเพณีที่ได้กระทำสืบๆกันมา สมมติเรียกว่าทำขวัญนี้เป็นปัญหาปริศนาธรรมทางโลก ถ้าจะสงเคราะห์เข้าทางธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนาก็ต้องอรรถาธิบายวา ที่หมอกล่าวคำขวัญว่าศรีๆน้ัน เป็นเครื่องหมายว่า เจ้านาคเจ้าจะเป็นผู้มีศีลแต่บัดนี้เป็นต้นไป
บายศรี ๕ ชั้นนั้นมิใช่อื่นไกล ได้แ่ก ศีล๕ ประการ บายศรีปากชาม ๓ หวีได้แก่ ไตรสิกขา ๓ เพราะศีลทั้ง ๒ ประเภทนี้เป็นมูลรากแห่งศีลทั้งหลาย ผู้มีศีลย่อมเป็นมิงขวัญสิริมงคลอันประเสริฐ ศีลนี้แหละจะเปลี่ยนแปลงสภาพบุคคลจากนายนั่นนายนี่ เป็นพระภิกษุนั่นพระภิกษุนี้ได้ก็อาศัยศีล ส่วนอาหารคาวและหวานที่ใส่ไว้ในบายศรีน้ัน ท่านเปรียบไว้ให้พิจารณาว่า เหมือนหนึ่งเนื้อหนังมังสาโลหิต ในร่างกายแห่งเราท้ังหลาย ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้นาน หน่อยหนึ่งก็จะเน่าเปื่อยทรุดโทรมถมทิ้งอยู่เหนือปฐพี เป็นเครื่องสาธารณ์สูญหายจัดเป็นฝ่ายอนัตตา
ไม้ ๓ ซึก ที่ค้ำบายศรีไว้มิให้ซวนเซนั้น ท่านเปรียบไว้เหมือนหนึ่งกุศลบุญกรรมบถที่ค้ำจุนชีวิตบุคคลให้เป็นอยู่ ด้ายดิบที่มัดบายศรีนี้ ท่านเปรียบไว้ได้แก่มิจฉาทิฺฎฐิอุปาทานเห็นผิดจากคลองธรรม ยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตน ใบตองสด ๓ใบที่หุ้มห่อไว้ที่บายศรีน้ัน คือความโลภ โกรธ หลง ตระหนี่เหนียว เข้าหุ้มห่อมิให้เห็นหนทางธรรม ผ้าหุ้มบายศรีน้ัน ท่านเปรียบไว้ได้แก่ผู้ที่บรรพชาอุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยเข้าใจแจ่มแจ้งในทางผิดชอบชั่วดี ตรงกันข้ามกับผู้ที่ไม่ได้บวช ใบตองสดที่ลดลงไว้่บนตักของเจ้านารน้ัน เพื่อจะให้พิจารณาทางธรรมกัมมัฎฐานว่า ไม่จีรังยั่งยืนอยู่ได้นานดจร่างกายแห่งเราท่านทั้งหลาย มีแต่ว่าจะทุรดโทรมเหี่ยวแห้งไป แว่นที่ติดเทียนเวียนไป ๓ รอบน้ัน ได้แก่ภพทั้่ง ๓ คือ กามภพ ๑ รูปภพ ๑ อรูปภพ ๑ ย่อมชักจูงให้เราทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฎ วุ่นวายอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ ให้เหินห่างจากทางพระนิพพาน อนึ่งหมอเอาไฟที่เทียนมาจดจ่อที่เจ้านาค ให้รู้สึกว่าไฟเป็นเครื่องร้อน แล้วจึงดับเสีย ๓ ครั้ง จึงเอาแป้งหอมน้ำหอมมา ละลายทาเจิมให้เจ้านาค นี้เป็นเครื่องเตือนว่า เจ้านาคบวชแล้วจงดับเสียซึ่งไฟทั้ง ๓ กอง คื ราคัคคีกองหนึ่ง โทสัคคีกองหนึ่ง โมหัคคีกองหนึ่ง เมื่อไฟทั้ง ๓ กองดับสนิทไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว ก็จะมีความสุขกายเย็นใจดุจแป้งหอมน้ำหอมที่ละลายทาเจิมให้เจ่้านาค ที่เขียนเป็นอักขระ
มะ อุะ อุ นั้น มิใช่อื่้นไกลได้แก่ อุปัจฌาชย์พระกรรมมวาจาและอนุสาวนาจารย์ มะ อยู่ที่ไหล่ขวาน้ันคือ พระกรรมวาจาจารย์ อะ อยู่ไหล่ซ้ายน้ัน คือ พระอนุสาวนาจารย์ อุอยู่ที่หน้านั้นคือ พระอุปัชฌาชยะ ท่านทั้ง ๓ นี้แหละจะเป็นผู้ชี้ทางทั้ง ๘ เส้น คือ อัฎฐังคิกมรรคทั้ง ๘ ประการ ให้เจ้านาคดำเนินวาจาใจ ขึ้นสู่สะพานทั้ง ๘ ทิศให้บ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้ว อันกล่าวแล้วคือพระนิพพาน น้ำมะพร้าวอ่อนที่จะให้เจ้านาคบริโภคน้ันเพื่อเตือนว่า เจ้านาคเมื่อบวชแล้วจงทำใจของตนให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ดุจน้ำมะพร้าว เมื่อจิตของเจ่้านาคบริสุทธิ์ผ่องใส ก็จะเกิดปัญญาดุจประทีปที่จุดไว้ปลายบายศรีสำหรับจะได้ส่องฉายให้เป็นบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ สิ่งใดเป็นทุกข์ เป็นโทษก็จะได้ละเสีย สิ่งใดเป็นประโยชน์ก็จะได้บำเพ็ญให้เกิดขึ่้นในขันธสันดาน เมื่อเจ้านาคน้อมจิตลงเห็นพระปรมัตถอรรถธรรมดังนี้แล้ว ก็จะไม่ยึดมั่นถือมั่นในทางโลกจนเกินไป จะได้น้อมใจลงในคุณพระรัตนตรัย ให้เห็นว่าคุณสิ่งใดในโลกนี้ ที่จะเสมอเหมือนคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า และคุณบิดามารดาาหามิได้ บิดามารดาย่อมมีอุปการะคุณแก่บุตรเป็๋นอย่างยิ่ง แท้จริงอุปการะคุณของบิดามารดานี้ ย่อมมีคุณูปการะแก่บุตรเหลือที่จะคณนา เมื่อยังไม่มีบุตรก็กระทำความปรารถนาซึ่งบุตรผู้จะกำเนิด ในกาลนั้น ครั้นต้ังครรภ์แล้วก็ย่อมอภิบาลรักษาครรภ์บริหารมีประการต่างๆ อนึ่งมารดาอุตส่าห์อดอออมซึ่งอาหารทีเผ็ดร้อน ด้วยเกรงว่าบุตรในครรภ์น้ันเป็นอันตราย ครั้นเมื่อบุตรน้ันคลอดแล้ว ความเมตตากรุณาของมารดาที่มีต่อบุตรหาที่สุดมิได้ ยามใดเมื่อบุตรปริเทวนาการร่ำร้องไห้ มารดาน้ันจะนิ่งอยู่มิได้ ย่อมประคองกอดไว้่แทบอุระให้บุตรดูดดื่มกินซึ่งกษีรธาราด้วยกำลังความเสน่หารักใคร่โลหิตในกายของมารดา แปรออกมาเป็นน้ำนมสำหรับให้บุตรบริโภคมิได้ปล่อยให้บุตรต้องวิโยคอยู่ห่างกาย ย่อมทำให้บุตรรื่นเริงบันเทิงใจ จนกว่าบุตรจะเจริญวัยใหญ่กล้า สอนให้รู้พูดเจรจา รู้เดิน รู้กิน รู้นอน รู้กระทำการงานเลี้ยงชีวิตของตนได้
ยญฺจ มาตฺธนํ โหติ ยญฺจ โหติ ปิตฺธนํ อนึ่งทรัพย์สินต่างๆ ที่เป็นของบิดามารดาก็ย่อมเก็บรวมรวมรักษาไว้เพื่อประโยชน์แก่บุตรทิ้งสิ้นทุกสิ่งทุกอัน เมือ่จะพรรณนาไปถึงคุณของบิดามารดาที่มีต่อบุตรน้ันมากนัก เท่าที่กล่าวมานี้พอให้เห็นประจักษ์โดยสังเขปเพียงเท่านี้ ก็การที่บุตรจะคิดตอบแทนคุณของบิดามารดาในทางโลกน้ัน ย่อมไม่สามารถจะทดแทนให้สิ้นสุดได้ โย ปน ปุคฺโคต ส่วนว่าบตุรผู้ใด ปพฺพชิโต ได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา จึงจะได้ชื่อว่าสนองคุณของบิดามารดาท้ังสองให้เต็มบริบูรณ์ และจะได้ชื่อว่าเป็นญาติกับพระศาสนา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสต้ังใจบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่นิยมนับถือของพทธบริษัท บวชแล้วควรต้ังใจศ฿กษาเล่าเรียนและฝึกให้ถูกต้องเรียบร้อยแต่เบื่้องต้นไป เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้วจะได้ปฎิบัติให้เป็นเณรเป็นพระที่ดีจริงๆ เมื่อเป็นเช่นนี้บิดามารดาจักได้ชื่อว่าบำรุงอุดหนุนพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษส่วนหนึ่ง คือ
มอบบุตรให้แก่พระศาสนาเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป ได้เท่าโอกาสที่บุตรจะอยู่ในพระพุทธศาสนาได้เพียงไร พระศาสนาที่มีอายุยืนยาวมาได้จนบัดนี้ก็เพราะอาศัยคนเก่าๆสืบต่อกันมา แล้วตายไป คนใหม่ๆ เข้าสืบต่อ โดยวิธีนี้พระพุทธศาสนาจึงมีอายุยืนยาวมาได้ถึง ๒๕๐๐ ปีเศษแล้ว เป็นประโยชน์แก่ประชุมชนผู่้ประพฤติตามเป็นอันมาก หากช่วยกันสืบต่อไปได้อีกเพียงใด ก็จักยืนยาวไปเพียงนั้น แต่ต้องสืบต่อด้วยความประพฤติดีปฎิบัติชอบจริงๆ บวชแล้ว
ถ้าไม่เป็นพระเป็นเณรที่ดี ประพฤติผิดธรรมวินัย กลับซ้ำร้ายเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาให้เสื่อมทรามเศร้าหมอง บั่นทอนรอนอายุพระศาสนาให้สั้นเข้ามา ไม่บรรพชาอุปสมบทเสียก็จะดีกว่า ถ้าต้ังใจเล่าเรียนศึกษาประพฤติปฎิบัติชอบ ก็จักเป็นบุญกุศลอันประเสริฐแก่ตนและมารดาญาติพี่น้องเป็นต้น คนที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสจักเลื่อมใส ที่มีศรัทธาเลื่อมใสแล้วจักเลื่อมใสยิ่งขึ้่น เป็นการสมควรแท้ เพราะการที่ตัวมาบวช ต้องหยุดรายได้ทรัพย์สมบัติซึ่งเกิดจากทำไร่นาค้าขายเป็นอาทิ ซ้ำต้องเพิ่มรายจ่ายให้มากขึ้น เช่นต้องซื้่อจ่ายเครื่องสมณบริขารเป็นต้น เมื่อเป็นดังนี้จึงสมควรแท้ที่จะหารายได้คือบุญกุศลเมื่อเวลาบวชให้มากขึ้นจนสุดสามารถที่จะได้เพียงไร คือ การเล่่าเรียนศึกษาเกิดความรู้ความฉลาดอันจำกัดความไม่รู้ความโงเขลาออกไปเสีย การฝึกหัดตัดกายวาจาใจ กับทิฎฐิความเห็นให้ได้ระเบียบถูกต้อง ตลอดจนนิสัยใจคอและเป็นแแบบฉบับตัวอย่างทีดีแก่พระและสามเณรอื่นๆซึ่งจักได้ประพฤติปฎิบัติตาม ทำให้ศาสนางดงามเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองตลอดถึงชาติ ทำร่างกายชีวิตจิตใจให้เต็มไปด้วยประโยชน์ ไม่ประกอบด้วยโทษอันจักเบียดเบียนแผดเผาตนและคนอื่นให้เร่าร้อนรำคาญชีวิต จักเป็นแก่นสารมีผลไม่เป็นหมัน เป็นบุญกุศลทั้งกลางวันและกลางคืน ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน เวลาบวชแล้วอย่าลืมตัวมัวไปหลงเล่าเรียนศึกษา แะประพฤติปฎิบัติแม้สิ่งที่เป็นคฤหัสถ์ทำได้ ไม่จำเป็นบวชแล้วต้องกระทำเช่นนั้น จีงมีสติสัมปชัญญะระวังอยู่ให้มีเหตุมีเรื่องเสียหาย และต้องถูกโทษทัณฑ์ ซึ่งจะเสียชื่อติดตัวไปจนตาย
ใจความในเรื่องการบวชก็คือ ละกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อบวชแล้วจงหมั่นพิจารณาตรวจตราความประพฤติความเป็นไปของตนเนืองๆ ถ้ารู้สึกตัวว่าเป็นไปเพื่อพอกพูนอาสวะกิเลสเหล่าน้ัน พึงเตือนตนเองว่าไม่ถูก ผิดใจความของเรื่องบวช จงเลิกละเสียทันที รีบประพฤติความดีขึ้่นแทนโดยเร็วที่สุด อย่าริเป็นเจ้าถ้อยหมอความทำให้เกิดอธิกรณ์เหตุการณ์มีขึ้นในชีวิต ผิดใจความของเรื่องบวช ไม่ตรงกับความประสงค์ที่จะมาหาบุญกุศล ในเวลาที่บวชอยู่ ถ้าไม่วิวาทบาดหมางโกรธเคืองกับใครๆ ได้เป็นอย่างดีที่สุด นับว่าเป็นคนดีมากหาได้ยาก
ควรนึกว่าเป็นลาภอันยิ่งใหญ่ของตนได้รอดชีวิตพ้นอันตรายมาได้จนถึงได้บวช ไม่ตายเสียก่อนบวชนับว่าเป็นโชคอย่างเหมาะแสนทีจะหาได้ ตัวเราก็เกิดมาในบ้านเมืองที่นับถือพระพุุทธศาสนา ไม่เป็นแต่สักว่านับถือได้ลงมือปฎิบัติตามด้วยกาย วาจา ใจ เป็นอันว่าได้บำรุงอุดหนุนพระพุทธศาสนาด้วยร่างกายชีวิตจิตใจจริงแท้ด้วย และเป็นโอกาสเหมาะที่สุดในชีวิตหนึ่งซึ่งได้ศึกษาพระศาสนาอย่างเต็มที่ ศึกษาแล้วได้ลงมือปฎิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ตามแนวที่ได้ศึกษามานั้นด้วย
ความจริงบาปอกุศลไม่ใช่หมดไป และบุญกุศลไม่ใช่บริบูรณ์ขึ้น เพราะเหตแต่เพียงโกนผมกับนุ่งผ้าเหลืองเท่านั้น นั่นเป็นเพียงเครื่องหมายเพศ บวชแล้วต้องอาศัยการศึกษาเล่าเรียนและประพฤติปฎิบัติให้ถูกต้องเต็มบริบูรณ์ตามหน้าที่ ถ้าบวชแล้วไม่ปฎิบัติดี กลับทำความเสียหาย ยิ่งซ้ำร้ายเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาด้วย ไม่ตรงกับความประสงค์ที่จะบวชบำเพ็ญกุศล ถ้าทำถูกต้องตามท่าทางของบุญแล้ว แม้ยังเป็นนาคอยู่ได้บุญก่อนบวชคือ ใจที่ผ่องแผ้วมี่ศรัทธาเลื่อมใสจะบวชก็เป็นบุญทางใจ แต่นั้นเดินไปฝากตัวที่วัดฝึกหัดกายไว้กราบพระตามแบบอย่างก็เป็นบุญทางกาย ท่องบ่นสาธยายคำขานนาค คำไหว้พระสวดมนต์เป็นต้น บุญก็เกิดทางวาจา ได้บุญก่อนบวชอย่างนี้ กำลังบวชอยู่ก็ได้บุญทั้ง ๓ ทางอย่างน้ัน แม้บวชแล้วหรือสึกแล้วนึกขึ้นมาก็เกิดปิดิปราโมทย์ก็ดี ทรางจำธรรมวินัยก็ดี กล่าวแต่คำที่ควรพูดก็ดี ทำด้วยกายตามส่วนที่ชอบซึ่งได้ศึกษาปฎิบัติมาแล้วก็ดี ย่อมเกิดบุญทางกาย วาจา ใจ เหมือนอย่างน้ัน ก่อนบวชก็ได้บุญ กำลังบวชก็ได้บุญ บวชสึกแล้วก็ได้บุญอย่่างนี้
บุญได้ใน ๓ กาลฉันใด ถ้าทำผิดพลาดบาปก็ได้ใน ๓ กาลฉันนั้น แต่ตรงกันข้ามกับบุญทั้งผลด้วย และบุญไม่ใช่เกิดจากความเกียจคร้าน บุญเกิดจากความดีมีความเพียรชอบเป็นต้น เช่น บางคนเห็นว่า เวลาบวชจะได้พักผ่อนร่างกายจิตใจที่บอบช้ำ ลำบากมาในตอนเป็นคฤหัสถ์ ซึ่งต้องศึกษาและค้าขายทำไร่นาเป็นต้น บวชแล้วจะกินนอนให้สบาย คิดเช่นนี้เป็นการคิดผิดแท้ ควรแนะนำตนเองว่า กินนอนเช่นน้ันสบายจริงตามที่นึก แต่ความสบายน้ันพ้นเวลาไปแล้วก็หายหมด คงเหลือปรากฎอยู่่แต่ความโง่เขลาทุกข์ยากลำบาก ส่วนการท่องบ่นเล่าเรียนศึกษาพากเพียรปฎิบัติฝึกหัดตัดกาย วาจา ใจ เวลานั้นทุกข์ยากลำบากเหน็ดเหนื่อยจริง แต่ล่วงพ้นเวลาไปก็หายหมดเหมือนกัน คงเหลือปรากฎแต่ความรู้่ความฉลาด และความเอมอิ่มใจว่าได้ปฎิบัติถูกต้องดีแล้วเป็นต้น เมื่อเวลาบวชแล้วควรทำตนให้สมกับหน้าที่คือ ในเวลาบวชใหม่ยังไม่มีความรู้ความสามารถก็พึงประพฤติตัวให้เรียบร้อยตามพระธรรมวินัย ให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระแก่เณรอื่นๆ เป็นต้น ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสแก่ผู้ที่พบเห็นกราบไหว้บูชาทำอุปการะ ถ้าอยู่นานไปมีความรู้ความสามารถ ควรหาโอกาสตักเตือนแนะนำพร่ำสอนให้เป็นประโยขน์แก่ผู้มีคุณน้ัน หรือแก่ผู้อื่นอันเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ และตั้งใจทำประโยชน์ให้แก่ศาสนานี้ เป็นการตอบแทนบุญคุณอย่างสมควรแ่ก่บรรพชิต ทำสำเร็จกิจประโยชน์แก่่ผู้อืน เป็นผลแก่ตนด้วยท้ัง ๒ฝ่าย ซึ่งมีความตายอยุ่ข้างหน้าหนีไม่พ้น จักได้ไม่เสียทีที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ไม่ตายเสียก่อนได้บรรพชาอุปสมบท ได้ประพฤติพรตพรหมจรรย์ศึลขันธ์ ในพระบวรพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่สัตว์จะพึงหาได้ยาก นับว่าเป็นลาภอันประเสริฐของบุคคลที่เกิดมา ย่อมเป็นอุปนิสัยปัจจัยแก่พระนิพพาน จะระงับดับเสี่ยซึ่งทุกข์ทั้งหลาย ตามศัพท์บาลีว่า
สพฺพ ทุกฺข นิสฺสรณ นิพฺพาน จะได้พ้นเสียจากสรรพทุกข์ทั้งหลาย จะเป็นปัจจัยแก่นิพพาน อันเป็นนาถะทีพึ่งอันเกษมสุขด้วยอานิสงส์ที่ปฎิบัตชอบ ในการบรรพชาอุปสมบทดังแสดงมา พระธรรมเทศนาสอนนาคพอฉลองศรัทธาท่านเจ้าภา ก็ยุติลงแต่เพียงนี ้ เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้