ความเฉลียวกับความฉลาด
ในที่นี้จะได้พูดถึงความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ จะไม่ขอพูดถึงความเฉลียวฉลาดของสัตว์ ความฉลาดนั้นได้แก่ปัญญา ความเฉลียวได้แก่สติ ความฉลาดนี้ใช้ได้ทั้งความเจริญและความเสื่อม ความฉลาดนั้นทำไปตามความพอใจ หรือความรู้ความเห็น ความชอบใจของตน ส่วนความเฉลียวนั้น คือความระลึกได้ว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งความดี สิ่งน้ันเป็นเหตุแห่งความชั่ว สิ่งนี้เป็นความสุข สิ่งนี้เป็นความทุกข์ สิ่งนี้เป็นความเจริญ สิ่งนั้นเป็นความเสื่อม สิ่งนี้เป็นหายนะ สิ่งน้ันเป็นวัฒนะ มนุษย์เราตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์มาตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ไม่ผิดอะไรกับสัตว์เดรัจฉาน ไม่มีสติปัญญาที่จะทำมาหากิน อยู่ปนกับสัตว์เดรัจฉาน เมื่อหิวขึ้นมาก็รูดใบไม้ ลูกไม้ รากไม้ และจับสัตว์มาฆ่ากินเนื่้อดิบๆ เป็นอาหาร เอาใบไม้ปกปิดร่างกายกันความอาย เป็นมาดงันี้ตั้งหลายพันปี ต่อมาค่อยมีความเจริญขึ้น รู้จักเอาไม้มาสีกันเข้าทำให้เกิดไฟใช้ในการหุงต้มอาหาร และปิ้งจี่เนื้อสัตว์กิน รู้จักปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารไว้เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต และมีสติปัญญาทำเครื่องนุ่งห่มขึ้นแทนใบไม้ และรู้จักเอาใบไม้มาทำเป็นที่อยู่อาศัย ค่อยเจริญขึ้นเป็นลำดับ อาศัยด้วยความไตร่ตรองใคร่ครวญ สมตามคำพุทธภาษิตที่กล่าวว่า "นิสฺสมฺกรณํ เสยฺโย" ใคร่ครวญเสียก่อนค่อยทำดีกว่า ต่อมาจึงพิจารณาเห็นว่า บนหัวคนเรานี้ จะทำอย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์บ้าง จึงเห็นว่า ธรรมดาของมนุษย์ทุกๆ คน ต้องการร่มด้วยกันทั้งน้ัน ไม่มีใครเลยที่ต้องการตากแดด เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้คิดทำหมวก ทำร่มขึ้น เพื่อใช้สำหรับป้องกันฝน ป้องกันแดด เมื่อเดินไปในที่แจ้ง ดังนั้น คนที่มีความเฉลียวฉลาดจึงประกอบขึ้่นเป็นสินค้าอย่างใหญ่โต จนเป็นคนมั่งมีร่ำรวยขึ้น แล้วกลับมาพิจารณาถึงผมว่า ถ้าปล่อยไว้ให้ยาวรุงรังโดยไม่ตัดไม่โกน ก็จะน่าเกลียดและเหม็นสาปเหม็นสาง คนที่เฉลียวฉลาดจึงด้คิดทำเครื่องตัดเครื่องโกน ทั้งได้คิดทำหวี ทำสบู่ ทำน้ำมัน ทำน้ำหอมและเครื่องตัดผมขึ้น เพื่อใช้ในการตกแต่งผมให้สวยงามยิ่งขึ้น และรู้จักสร้างตึกสร้างบ้านเรือน สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยขึ้นอย่างใหญ่โตและสวยงาม ตลอดทั้งคิดทำเครื่องพาหนะใช้ในการโดยสาร มีทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ จะไปไหนมาไหนก็ไม่ต้องเดิน จะไปทางอากาศก็ขึ้นเครื่องบิน คนที่มีสติปัญญา ยังรู้จักทำเครื่องนุ่งห่มขึ้นอย่างประณีตและสวยงาม รู้จักประกอบยาขึ้นเพื่อแก้ไข้ ให้หายจากโรคอยู่เป็นสุขสำราญ และรู้จักปรุงอาหารขึ้นรับประทานอย่างประณีตและโอชะ ตลอดถึงรู้จักทำเรือกสวนไร่นา ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร ไ้ด้รับผลอย่างสมบรูณ์
การที่มนุษย์มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาถึงเพียงนี้ ซึ่่งผิดกับสมัยดึกดำบรรพ์ ก็เนื่่องมาจากความเฉลียวฉลาดนั่นเอง มิใช่ทำส่งๆ หรือทำไปตามความเห็นของตนเอง เช่น ลิงเฝ้าสวน เห็นคนรดน้ำต้นไม้ รดแต่ยอดลงมา มันจะถึงดินหรือโคนต้นไม้เมื่อไร เมื่อเจ้าของไปแล้ว ได้สั่งให้ลิงรดน้ำต้นไม้บ้าง ลิงจึงถอนต้นไม้ขึ้นแล้วก็เอาน้ำรดลงไป จึงเอาต้นไม้ปลูกลงไว้ ทำไปดังนี้จนต้นไม้เหล่าน้ันตายจนหมด การที่ลิงทำดังน้ันก็เพราะความดื้อรั้น ถือเอาความเห็นของตนเป็นประมาณ ถ้าเป็นคนก็เป็นคนโง่ ชนิดที่เรียกว่า "โง่ดักดาน" เช่น สัจจนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ ใฝ่ใขแต่จะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูงประหนึ่งว่ายกธง เป็นผู้มึดมนมัวเมา หยิ่ง เป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาตอบโต้กับพระพุทธเจ้า พระองค์รู้นิสัยแล้วตรัสเทศนาเอาชนะได้นี้ เรียกว่า ผู้มีปัญญา แต่ขาดสติเสียแล้ว ย่อมหาสาระประโยชน์ทีแท้จริงแน่นอนไม่ได้ ถ้าจะเปรียบอีกนัยหนึ่ง ก็ได้แก่เครื่องจักรที่ไม่มีคนขับดำเนินไปตามยถากรรมของตน ถ้าเป็นคนก็ถือเอาแต่ความเห็นของตนเป็นใหญ่ จะได้รับแต่ความเดือนร้อนทุกข์ยากลำบาก ย่อมไร้สาระประโยชน์หาความสุขมิได้ คนที่ถือเอาแต่ความเห็นของตนเป็นประมาณ ไม่ประพฤติตามขนบธรรมเนียมประเพณีและข้อบังคับบัญชากติกาของผู้เป็นประมุขประธาน การที่ประพฤติดังน้ัน มีแต่ความเสื่อมเสียฝ่ายเดียว บางคนไม่มีความรู้ แต่พูดอวดฉลาด บางคนรู้ดีแต่ไม่พูด
ฉนั้นจะได้ยกตัวอย่างคน ๔ จำพวกเพื่อเป็นคติจะได้ถือไว้เป็นข้อปฎิบัติคือ คนจำพวกที่ ๑ "ดีแต่พูดทำไม่ได้" จำพวกที่๒ "ทำได้แต่พูดไมได้" จำพวกที่ ๓ "ทำก็ไม่่ได้ พูดก็ไม่ได้" จำพวกที่๔ "ทำก็ได้พูดก็ได้"
"คนที่พูดได้แต่ทำไม่ได้" คนชนิดนี้ย่อมไม่เป็นสาระและไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย อุปมาเหมือน "ฟ้าร้องแต่ฝนไม่ตก" คนที่ต้องการน้ำฝนย่อมไม่ได้รับน้ำฝนฉันใด คนทีดีแต่พูดทำไม่ได้ ก็ฉันนั้น
"คนที่ทำได้แต่พูดไม่ได้" คนชนิดนี้ได้ผลมาก อุปมาเหมือน "ฝนตกแต่ฟ้าไม่ร้อง" ผู้ที่ต้องการน้ำฝนย่อมได้รับน้ำฝนฉันใด คนทีทำได้แต่พูดไม่ได้ก็ฉันน้ัน
"คนที่พูดก็ไม่ได้ ทำก็ไม่ได้" คนชนิดนี้น่าสงสาร แต่ก็ยังดีที่ไม่ทำให้คนเดือดร้อน อุปมาเหมือน"ฝนก็ไม่ตก ฟ้าก็ไม่ร้อง"
"คนที่ทำก็ได้ พูดก็ได้" คนชนิดนี้ดีเป็นเลิศประเสริฐสุด อุปมาเหมือนฝนก็ตกฟ้าก็ร้อง
คนที่เป็นเช่นนี้ได้ ก็ต้องอาศัยความเฉลียวฉลาดทั้ง ๒ ประการ ควบคู่กันไป เวลานี้รัฐของเรา ปกครองแบบประชาธิปไตย มีสภา ๒ สภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร สภาหนึ่งคิดจะดำเนินประเทศชาติไปสู่ความเจริญ อีกสภาหนึ่งคอยพิจารณาดูว่าจะไปสู่ความเจริญหรือความเสือม เมื่อเห็นว่าจะดำเนินประเทศชาติไปสู่ความเจริญ ก็อนุมัติตาม ถ้าจะดำเนินไปสู่ความเสือม ก็คัดค้านไว้ ดังนั้นประเทศชาติของเราจึงจะเจริญงอกงามไพบูลย์ไปด้วยทรัพย์สมบัติดังที่เห็นกันอยู่นี้ ได้อาศัยคณะรัฐบาลมีท่านนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ได้แนะนำให้ทำสวนครัวอบรมประชาชนให้มีศีลธรรม และวัฒนธรรม ให้มีความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารีมีความสามัคคีไม่เบียดเบียนซึงกันและกัน สนับสนุนการอาชีพให้เป็นล่ำเป็นสัน จะเห็นได้ว่าชาติไทยเรา จะเป็นอารยชาติได้ ก็อาศัยรัฐบาล มีสภา ๒ สภา สภาสูงเปรียบด้วยความเฉลียวฉลาด จึงสามารถนำประเทศชาติของเราให้ปราศจากภยันตราย สมบรูณ์พูนผลด้วยประการทั้งปวง
การที่มนุษย์มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาถึงเพียงนี้ ซึ่่งผิดกับสมัยดึกดำบรรพ์ ก็เนื่่องมาจากความเฉลียวฉลาดนั่นเอง มิใช่ทำส่งๆ หรือทำไปตามความเห็นของตนเอง เช่น ลิงเฝ้าสวน เห็นคนรดน้ำต้นไม้ รดแต่ยอดลงมา มันจะถึงดินหรือโคนต้นไม้เมื่อไร เมื่อเจ้าของไปแล้ว ได้สั่งให้ลิงรดน้ำต้นไม้บ้าง ลิงจึงถอนต้นไม้ขึ้นแล้วก็เอาน้ำรดลงไป จึงเอาต้นไม้ปลูกลงไว้ ทำไปดังนี้จนต้นไม้เหล่าน้ันตายจนหมด การที่ลิงทำดังน้ันก็เพราะความดื้อรั้น ถือเอาความเห็นของตนเป็นประมาณ ถ้าเป็นคนก็เป็นคนโง่ ชนิดที่เรียกว่า "โง่ดักดาน" เช่น สัจจนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ ใฝ่ใขแต่จะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูงประหนึ่งว่ายกธง เป็นผู้มึดมนมัวเมา หยิ่ง เป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาตอบโต้กับพระพุทธเจ้า พระองค์รู้นิสัยแล้วตรัสเทศนาเอาชนะได้นี้ เรียกว่า ผู้มีปัญญา แต่ขาดสติเสียแล้ว ย่อมหาสาระประโยชน์ทีแท้จริงแน่นอนไม่ได้ ถ้าจะเปรียบอีกนัยหนึ่ง ก็ได้แก่เครื่องจักรที่ไม่มีคนขับดำเนินไปตามยถากรรมของตน ถ้าเป็นคนก็ถือเอาแต่ความเห็นของตนเป็นใหญ่ จะได้รับแต่ความเดือนร้อนทุกข์ยากลำบาก ย่อมไร้สาระประโยชน์หาความสุขมิได้ คนที่ถือเอาแต่ความเห็นของตนเป็นประมาณ ไม่ประพฤติตามขนบธรรมเนียมประเพณีและข้อบังคับบัญชากติกาของผู้เป็นประมุขประธาน การที่ประพฤติดังน้ัน มีแต่ความเสื่อมเสียฝ่ายเดียว บางคนไม่มีความรู้ แต่พูดอวดฉลาด บางคนรู้ดีแต่ไม่พูด
ฉนั้นจะได้ยกตัวอย่างคน ๔ จำพวกเพื่อเป็นคติจะได้ถือไว้เป็นข้อปฎิบัติคือ คนจำพวกที่ ๑ "ดีแต่พูดทำไม่ได้" จำพวกที่๒ "ทำได้แต่พูดไมได้" จำพวกที่ ๓ "ทำก็ไม่่ได้ พูดก็ไม่ได้" จำพวกที่๔ "ทำก็ได้พูดก็ได้"
"คนที่พูดได้แต่ทำไม่ได้" คนชนิดนี้ย่อมไม่เป็นสาระและไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย อุปมาเหมือน "ฟ้าร้องแต่ฝนไม่ตก" คนที่ต้องการน้ำฝนย่อมไม่ได้รับน้ำฝนฉันใด คนทีดีแต่พูดทำไม่ได้ ก็ฉันนั้น
"คนที่ทำได้แต่พูดไม่ได้" คนชนิดนี้ได้ผลมาก อุปมาเหมือน "ฝนตกแต่ฟ้าไม่ร้อง" ผู้ที่ต้องการน้ำฝนย่อมได้รับน้ำฝนฉันใด คนทีทำได้แต่พูดไม่ได้ก็ฉันน้ัน
"คนที่พูดก็ไม่ได้ ทำก็ไม่ได้" คนชนิดนี้น่าสงสาร แต่ก็ยังดีที่ไม่ทำให้คนเดือดร้อน อุปมาเหมือน"ฝนก็ไม่ตก ฟ้าก็ไม่ร้อง"
"คนที่ทำก็ได้ พูดก็ได้" คนชนิดนี้ดีเป็นเลิศประเสริฐสุด อุปมาเหมือนฝนก็ตกฟ้าก็ร้อง
คนที่เป็นเช่นนี้ได้ ก็ต้องอาศัยความเฉลียวฉลาดทั้ง ๒ ประการ ควบคู่กันไป เวลานี้รัฐของเรา ปกครองแบบประชาธิปไตย มีสภา ๒ สภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร สภาหนึ่งคิดจะดำเนินประเทศชาติไปสู่ความเจริญ อีกสภาหนึ่งคอยพิจารณาดูว่าจะไปสู่ความเจริญหรือความเสือม เมื่อเห็นว่าจะดำเนินประเทศชาติไปสู่ความเจริญ ก็อนุมัติตาม ถ้าจะดำเนินไปสู่ความเสือม ก็คัดค้านไว้ ดังนั้นประเทศชาติของเราจึงจะเจริญงอกงามไพบูลย์ไปด้วยทรัพย์สมบัติดังที่เห็นกันอยู่นี้ ได้อาศัยคณะรัฐบาลมีท่านนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ได้แนะนำให้ทำสวนครัวอบรมประชาชนให้มีศีลธรรม และวัฒนธรรม ให้มีความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารีมีความสามัคคีไม่เบียดเบียนซึงกันและกัน สนับสนุนการอาชีพให้เป็นล่ำเป็นสัน จะเห็นได้ว่าชาติไทยเรา จะเป็นอารยชาติได้ ก็อาศัยรัฐบาล มีสภา ๒ สภา สภาสูงเปรียบด้วยความเฉลียวฉลาด จึงสามารถนำประเทศชาติของเราให้ปราศจากภยันตราย สมบรูณ์พูนผลด้วยประการทั้งปวง
คติท้ายภาษิต
คนดีมีน้อย คนถ่อยมีมาก
คนชั่วหายาก คนดีทั้งน้ัน
พระคาถา
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทธิยา
(สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อมีปัญญาแลเห็นชัด
ว่านิพพานสิ้นทุกข์ จงเดินทางบริสุทธิ์)
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารธรรม ที่ปัจจัยปรุงแต่งทั้งปวงไม่เที่ยงดังนี้ เมื่อน้ันบุคคลก็เบือ่หน่ายในทุกข์ คือ ความบริหารขันธ์ของร่างกาย อันนี้เป็นมรรคแห่งความบริสุทธิ์ คือ จะให้จิตพ้นไปจากอาสวะทั้งหลาย
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์อันสุัตว์ทนได้ยากฉะนี้ เมื่อน้ันบุคคลย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ คือ บริหารทำนุบำรุงรักษาเบญจขันธ์ อันนี้เป็นมรรคาแห่งความบริสุทธิ์
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ดังนี้ เมื่อบุคคลน้ันย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ คือ ความบริหารทำนุบำรุงเบญจขันธ์ อันนี้เป็นมรรคาแห่งความบริสุทธิ์วิปัสสนาญาณพิจารณาสังขารโดยเป็นธรรม ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อนัตตาแล้ว เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย เป็นมรรคอุบายแห่งนิพพานด้วยประการฉะนี้